ประเด็นภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีขายสินค้าด้วยเครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ

ประเด็นภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีขายสินค้าด้วยเครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ

📌 บริษัทฯ เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ประเภทผลิต ขายส่ง ส่งออก อาหารสำเร็จรูป ขนมและเครื่องดื่ม และนำเข้าวัตถุดิบและเครื่องจักร ต่อมาบริษัทฯ ได้นำเข้าเครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ (เครื่องอัตโนมัติ) เพื่อจำหน่ายสินค้าประเภทเครื่องดื่มและอาหารบรรจุกระป๋อง จึงขอทราบว่า
.
✅ 1. การขายสินค้าโดยเครื่องอัตโนมัติถือเป็นการค้าปลีกหรือไม่ และบริษัทฯ จะต้องออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปหรืออย่างย่อ
.
👉 ตอบ : การขายเครื่องดื่มและอาหารบรรจุกระป๋อง ที่บรรจุอยู่ในเครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ เป็นการขายให้แก่ผู้บริโภคโดยตรง ถือเป็นกิจการค้าปลีกตามมาตรา 86/6แห่งประมวลรัษฎากรบริษัทฯ มีสิทธิออกใบกำกับภาษีอย่างย่อได้ ตามมาตรา86/6 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร
.
✅ 2. บริษัทฯ จะต้องจัดทำใบกำกับภาษีในวันที่บริษัทฯ บรรจุสินค้าเข้าเครื่องอัตโนมัติ หรือวันที่นำเงินออกจากเครื่องอัตโนมัติ
.
👉 ตอบ : การขายเครื่องดื่มและอาหารบรรจุกระป๋อง ที่บรรจุอยู่ในเครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ ไม่ว่าจะมีการชำระโดยวิธีใดก็ตาม ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มทั้งหมดเกิดขึ้นเมื่อได้นำเงินนั้นออกจากเครื่องจำหน่ายสินค้าให้ออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ
.
✅ 3. บริษัทฯ จะต้องแจ้งเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.09) หรือไม่ อย่างไร
.
👉 ตอบ : บริษัทฯ ได้จดทะเบียนประเภทสินค้าเป็นผู้ค้าส่งแต่ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงการขายสินค้าเป็นผู้ประกอบการค้าปลีก บริษัทต้องดำเนินการแจ้งเพิ่มวัตถุประสงค์ต่อกรมสรรพากรภายใน 15 วัน
.
✅ 4. การนำเครื่องอัตโนมัติไปติดตั้งตามสถานที่ต่าง ๆ เพื่อจำหน่ายสินค้าจะต้องจดทะเบียนเพิ่มสาขาหรือไม่
.
👉 ตอบ : บริษัทฯ มิได้จัดให้มีพนักงานหรือบุคคลใดเป็นผู้ให้บริการขายสินค้าตามจุดต่างๆจึงไม่ถือว่าเป็นสถานประกอบการ บริษัทฯจึงไม่ต้องจดทะเบียนสาขา
.
✅ 5. ในการติดตั้งเครื่องอัตโนมัติในสถานที่ต่าง ๆ บริษัทฯ ได้ตกลงจ่ายค่าตอบแทนให้กับเจ้าของสถานที่ ผู้ให้อนุญาต ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา บริษัทหรือนิติบุคคลอื่น ๆ หน่วยงานราชการ โรงเรียน หรือมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในลักษณะของค่าเช่าเหมา หรือค่าไฟฟ้าเหมา หรือเปอร์เซนต์จากการขาย ขึ้นอยู่กับการตกลงว่าจะใช้รูปแบบใด บริษัทฯ จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราเท่าใด
.
👉 ตอบ : ผู้ใช้เช่าพื้นที่ ไม่ได้มีการส่งมอบการครอบครองพื้นที่ให้กับริษัท จึงถือว่ากรณีนี้ไม่ถือว่าเป็นสัญญาเช่า โดยผู้ให้เช่ามีหน้าที่ดูแลรักษาเครื่อง และแจ้งปัญหาต่างๆไปยังบริษัทฯ สัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนบริษัทฯ จึงไม่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย สัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาต่างตอบแทน บริษัทฯ จึงไม่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย
.
อ้างอิง ข้อหารือกรมสรรพากร
https://www.rd.go.th/23382.html

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *