พ่อค้า แม่ค้า เสียภาษีอย่างไร

พ่อค้าแม่ค้าเสียภาษีอย่างไร

พ่อค้า แม่ค้า ทั้งขายออนไลน์ หรือที่เข้าโครงการคนละครึ่ง โครงการเราชนะ  หรือโครงการเรารักกัน เสียภาษีอย่างไร ที่นี่มีคำตอบค่ะ

พ่อค้า แม่ค้า ที่ประกอบธุรกิจในนามนิติบุคคลไม่น่าเป็นห่วงค่ะ เนื่องจากตามกฎหมายกำหนดให้มีการจัดทำบัญชี ส่งงบการเงินให้กำหนดเวลาอยู่แล้ว  แต่ที่น่ากังวลคือพ่อค้า แม่ค้า ที่การประกอบกิจการค้าขายในนามบุคคลธรรมดา ซึ่งอาจขาดความรู้เรื่องภาษี ทำให้ไม่ได้มีการจัดการเรื่องภาษีให้ถูกต้อง ทำให้เกิดปัญหาถูกเรียกเก็บภาษีย้อนหลังพร้อมเบี้ยปรับ เงินเพิ่มจำนวนมากมาย  มาเรียนรู้เรื่องภาษีเบื้องต้นกันค่ะ  

.

ภาษีที่เกี่ยวข้องมีอยู่ มี 2 ประเภท คือ

1️⃣ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

✅ รายได้จากการขายของออนไลน์เป็นเงินได้ถึงประเมิน40(8 )  หากเป็นโสดและมีรายได้เกิน 60,000 บาทต่อปี หรือสมรส มีรายได้เกิน 120,000 บาทต่อปี ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษี แม้จะไม่มีภาษีต้องเสียก็ตาม

กำหนดการยื่นแบบแสดงรายการปีละ 2 ครั้ง

  • ภาษีกลางปี ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 ภายใน 30 กันยายน ของปี
  • ภาษีประจำปี ยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90 ภายใน 31 มีนาคม ของปีถัดไป

.

✅ สามารถหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาได้ 60% (แต่หากท่านใดมีต้นทุนมากกว่า 60% หากมีการเก็บเอกสารการจ่ายไว้สามารถเลือกหักตามจริงได้)

✅ หักค่าลดหย่อนส่วนตัวได้ 60,000 บาท  และมีค่าลดหย่อนอื่น ๆ ที่สามารถหักเพิ่มได้ จะทำให้จำนวนภาษีที่ต้องเสียลดลง

✅ คำนวณภาษีตามอัตราก้าวหน้า

.

ตัวอย่างการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

 กรณียอดขาย 1,500,000 บาท และมีหักลดหย่อนส่วนตัวอย่างเดียว

      ยอดขายทั้งปี                  =    1,500,000     บาท

    หัก ค่าใช้จ่ายเหมา 60%     =    (900,000)   บาท

     เงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย    =      600,000     บาท

   หัก ลดหย่อนส่วนตัว           =     (60,000)    บาท

   เงินได้สุทธิ                        =      540,000     บาท

.

   คำนวณภาษี  

       1-150,000   บาท    ยกเว้น  =           0     บาท

     150,001-300000     5%     =     7,500     บาท

     300,001-500,000   10%    =    20,000    บาท

     40,000                  15%     =      6,000    บาท

    รวมภาษีที่ต้องเสีย     33,500  บาท          

.

    จากกรณีตัวอย่างการคำนวณ กรณีมีค่าลดหย่อนเพิ่มขึ้น ภาษีที่ต้องเสียจะลดลง

.

2️⃣ ภาษีมูลค่าเพิ่ม

  1. หาากการขายสินค้าที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มเกินกว่า 1.8 ล้านบาท
  2. เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (ถ้ามี) โดยคำนวณจาก ภาษีขาย – ภาษีซื้อ

.

จุดถึงระวังที่สำคัญคือ ผู้ประกอบการที่มีรายได้เกิน 1.8 ล้าน แล้วไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ทำให้เกิดเบี้ยปรับจำนวนมากมาย  ดังนั้นจะต้องมีการทำบัญชีรับ-จ่าย เพื่อให้ทราบยอดการเคลื่อนไหว จะได้วางแผนภาษี และวางแผนในธุรกิจได้อย่างยั่งยืน นะคะ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *