ภาษีการรับมรดก

ภาษีการรับมรดก

ภาษีการรับมรดก

 

ภาษีการรับมรดก

 

ภาษีการรับมรดก

 

ภาษีการรับมรดก

 

 

📌 ภาษีการรับมรดก (Inheritance Tax) เกิดขึ้นเมื่อเจ้ามรดกตาย ผู้รับมรดกจากเจ้ามรดก แต่ละรายได้รับมรดกสุทธิมาในคราวเดียวหรือหลายคราว รวมกันแล้วมีมูลค่าเกินกว่า 100 ล้านบาท มีหน้าที่ต้องเสียภาษีตามที่กฎหมายกำหนด
.
👉 กองมรดกของผู้ตาย ย่อมตกทอดแก่ทายาทโดยสิทธิตามกฎหมาย หรือโดยพินัยกรรม
1. ทายาทโดยสิทธิตามกฎหมาย ได้แก่ ผู้สืบสันดาน บิดามารดา พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา ตามลําดับที่กฎหมายกําหนดไว้
2. ทายาทโดยพินัยกรรม ได้แก่ ผู้รับพินัยกรรม
.
✅ ทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษี
– อสังหาริมทรัพย์
– หลักทรัพย์ตามกฎหมาย
– เงินฝาก
– ยาพาหนะ
– ทรัพย์สินทางการเงิน
.
🧮 การคำนวณมูลค่าทรัพย์สิน
-อสังหาริมทรัพย์ ประเมินตามประมวลกฎหมายที่ดิน
-หลักทรัพย์ ใช้ราคาปิดตลาด ณ วันโอน
-หลักทรัพย์อื่นๆ ตามกฎกระทรวง
.
*ยื่นแบบและชำระภาษีภายใน 150 วัน นับตั้งแต่ได้รับมรดก
*ผ่อนชำระได้ภายใน 2 ปี (ไม่เสียเงินเพิ่ม) หรือ ผ่อนชำระเกิน 2 ปี แต่ไม่เกิน 5 ปี (เสียเงินเพิ่ม)
.
‼️ บทกำหนดโทษทางอาญา
1. บุคคลธรรมดา
(1) หากไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี (ภ.ม.60) โดยไม่มีเหตุอันสมควร ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500,000 บาท
(2) หากไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกหรือคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมิน หรือไม่ยอมตอบคำถามของเจ้าพนักงานประเมิน หรือของประธานคณะกรรมการอุทธรณ์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือนหรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
(3) หากทำลาย ย้ายไปเสีย ซ่อนเร้น หรือโอนไปซึ่งทรัพย์สินที่ถูกยึด หรืออายัด ให้แก่บุคคลอื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี และปรับไม่เกิน 400,000 บาท
(4) หากจงใจยื่นข้อความเท็จ หรือให้ถ้อยคำเท็จ หรือตอบคำถามด้วยถ้อยคำอันเป็นเท็จ หรือนำพยานหลักฐานเท็จมาแสดงเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษี หรือให้ความเท็จ โดยเจตนาละเลย โดยฉ้อโกงหรือใช้อุบาย โดยวิธีการอย่างหนึ่งอย่างใด หลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษี หรือแนะนำหรือสนับสนุนให้บุคคลอื่นกระทำการดังกล่าว ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
.
2. นิติบุคคล
หากผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ให้กรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการ หรือผู้แทนของนิติบุคคล ต้องรับโทษ โดยถือว่ามีส่วนร่วมในการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้น
.
ที่มา กรมสรรพากร ,สำนักงานกิจการยุติธรรม ,พระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *