ภาษีซื้อต้องห้าม

ภาษีซื้อต้องห้าม

ภาษีซื้อต้องห้าม หรือภาษีซื้อไม่ขอคืน  บัญชีที่อยู่ในงบการเงิน  ภาษาที่นักบัญชีเรียกกัน คืออะไร  วันนี้จะพาไปดูกันค่ะ

ภาษีซื้อต้องห้าม หมายถึง ภาษีซื้อที่กฎหมายไม่ให้นำมาหักออกจากภาษีขายเพื่อคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ ห้ามขอคืน โดยกำหนดลักษณะของภาษีซื้อต้องห้ามไว้ตามมาตรา 82/5 แห่งประมวลรัษฎากร  ดังนี้

ลักษณะภาษีซื้อต้องห้าม

  1. ไม่มีใบกำกับภาษี ใบกำกับภาษีหาย หรือ ไม่อาจแสดงใบกำกับภาษีได้ กรณีใบกำกับภาษีหาย หรือไม่อาจแสดงใบกำกับภาษีได้ สามารถแก้ไขได้โดยขอให้ผู้ออกใบกำกับภาษีออกใบแทนใบกำกับภาษี เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการนำไปหักออกจากภาษีขายหรือขอคืนภาษีได้

.

  1. 2. ใบกำกับภาษีที่ไม่ถูกต้องในส่วนที่เป็นสาระสำคัญตามที่กฎหมายกำหนด ใบกำกับภาษีที่จะนำมาหักออกจากภาษีขาย หรือขอคืนภาษีได้ ต้องเป็นใบกำกับภาษีเต็มรูป ที่มีรายการตามาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร หากไม่ถูกต้องครบถ้วน ถือเป็นภาษีซื้อต้องห้าม ดังนั้นผู้ประกอบการที่จะนำใบกำกับภาษีฉบับใดมาใช้ ควรต้องทำการตรวจสอบรายละเอียดว่ามีรายกาครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนดไว้หรือไม่

.

  1. ภาษีซื้อที่ไม่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการ หากเป็นภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อหรือรับบริการที่ไม่เกี่ยวข้องกับกิจการ ถือเป็นภาษีซื้อต้องห้าม ถึงแม้ว่าจะมีใบกำกับภาษีถูกต้องตาม

.

  1. ภาษีซื้อที่เกิดจากรายจ่ายเพื่อการรับรอง เช่น จ่ายค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่าเครื่องดื่ม ค่าสิ่งของหรือประโยชน์อื่นใด  เพื่อรับรองบุคคลอื่น

.

  1. 5. ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีที่ออกโดยผู้ไม่มีสิทธิออกใบกำกับภาษี ได้แก่

    (5.1)  บุคคลผู้ที่ไม่ใช้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

    (5.2)  ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่อยู่นอกราชอาณาจักร และมีตัวแทนออกใบกำกับภาษีแทนผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

  (5.3)  ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ทรัพย์สินถูกนำออกขายทอดตลาด หรือโดยวิธีอื่น โดยผู้อื่น

.

  1. ภาษีซื้อตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 42) ได้แก่

    (6.1)  ภาษีซื้อที่เกี่ยวกับการซื้อ เช่าซื้อ หรือซื้อสินค้าหรือรับบริการเกี่ยวกับรถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต

    (6.2)  ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีอย่างย่อ

    (6.3)  ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อสินทรัพย์หรือรับบริการ ที่ได้นำมาใช้ในกิจการในประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

   (6.4)  ภาษีซื้อที่เกิดจากการก่อสร้างอาคาร ได้นำมาใช้ในกิจการของตนเองที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และต่อมากิจการได้ขายอาคารหรือให้เช่าภายใน 3 ปี นับแต่วันที่ก่อสร้างเสร็จ  ภาษีซื้อนั้นถือเป็นภาษีซื้อต้องห้าม

   (6.5) ใบกำกับภาษีเต็มรูปตามมาตรา 86/4 ที่มีรายการ ชื่อ ที่อยู่ เลขประจำตัวผู้เสียภาษี ไม่ได้จัดพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์  ในกรณีที่จัดทำใบกำกับภาษีด้วยคอมพิวเตอร์ทั้งฉบับ

   (6.6)  ใบกำกับภาษีเต็มรูปตามาตรา 86/4 ที่รายการใบกำกับภาษีเป็นสำเนา (COPY) ยกเว้น ใบกำกับภาษีที่จัดทำรวมกับเอกสารทางการค้าอื่น ๆ  หลายฉบับ และในใบกำกับภาษีที่เป็นสำเนามีข้อความว่า “เอกสารออกเป็นชุด” ปรากฎอยู่ด้วย

   (6.7)   ภาษีซื้อที่เป็นส่วนที่เฉลี่ยจากกิจการที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

   (6.8)  ใบกำกับภาษีซื้อที่ถูกแก้ไข  เปลี่ยนแปลง ในส่วนที่เป็นสาระสำคัญ ตามาตรา 86/4 

   (6.9)  ภาษีซื้อจากการซื้อสินค้าหรือรับบริการ ที่นำมาใช้ทั้งกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และกิจการที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม  และผู้ประกอบการเลือกที่จะไม่นำภาษีซื้อทั้งหมดมาใช้คำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม เนื่องจากมีกิจการประเภทไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มมากกว่าร้อยละ 90

   (6.10)  ใบกำกับภาษีซื้อที่ถูกแก้ไข เปลี่ยนแปลง ในส่วนที่เป็นสาระสำคัญของใบกำกับภาษี ตามมาตรา 86/4

   (6.11)  ภาษีซื้อที่เกี่ยวกับการซื้อ เช่าซื้อ หรือซื้อสินค้าหรือรับบริการเกี่ยวกับรถยนต์ ที่ไม่ใช่รถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน  ต่อมาได้มีการดัดแปลงเป็นรถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ภายใน 3 ปี นับแต่เดือนภาษีที่ได้รถยนต์ไว้ครอบครอง

  (6.12)  ใบกำกับภาษีซื้อของผู้ประกอบการที่ออกโดยตัวแทน ที่มีรายการในใบกำกับภาษีที่ไม่ได้จัดพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์  ในกรณีที่จัดทำใบกำกับภาษีด้วยคอมพิวเตอร์ทั้งฉบับ

.

ภาษีซื้อต้องห้ามที่สามารถนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ

ภาษีซื้อต้องห้ามบางประเภท ที่กฎหมายกำหนดให้สามารถถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้  ไม่ต้องนำไปบวกกลับในกำไรสุทธิเพื่อคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล   ได้แก่ภาษีซื้อต้องห้ามดังต่อไปนี้

  1. ภาษีซื้อจากซื้อ สินค้าหรือรับบริการ ของรถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 ที่นั่ง
  2. ภาษีซื้อที่เกิดจากค่ารับรอง หรือ ค่าสิ่งของ เพื่อเป็นการรับรองหรือให้บริการบุคคลอื่น
  3. ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีอย่างย่อ
  4. ภาษีซื้อที่เกิดจากรายจ่ายในกินการที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
  5. ภาษีซื้อจากการก่อสร้างอาคาร หรืออสังหาริมทรัพย์อื่น แล้วนำมาใช้ในกิจการของตนเอง ซึ่งเป็นกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ต่อมาได้ขาย  ให้เช่า หรือนำไปใช้ในกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ภายใน 3 ปี นับแต่วันเดือนภาษีที่ก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์
  6. ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีเต็มรูปตามาตรา 86/4 ซึ่งมีรายการในใบกำกับภาษีเป็นสำเนา (COPY) แต่ไม่รวมถึงใบกำกับภาษีที่จัดทำรวมกับเอกสารทางการค้าอื่นซึ่งมีจำนวนหลายฉบับ และรายการในใบกำกับภาษีที่เป็นสำเนา มีข้อความ “เอกสารออกเป็นชุด” ปรากฎอยู่ด้วย
  7. ภาษีซื้อส่วนที่เฉลี่ยให้เป็นของกิจการที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ต้องคำนวณตามหลักเกณฑ์ของกรมสรรพากร
  8. ภาษีซื้อจากการซื้อสินค้าหรือรับบริการ ที่นำมาใช้ทั้งกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และกิจการที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และผู้ประกอบการเลือกที่จะไม่นำภาษีซื้อทั้งหมดมาใช้คำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม เนื่องจากมีกิจการประเภทไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มมากกว่าร้อยละ 90
  9. ภาษีซื้อที่เกิดจากการแก้ไข เปลี่ยนแปลง ที่เป็นภาษีซื้อต้องห้าม สามารถนำภาษีซื้อมาถือเป็นรายจ่ายได้
  10. ภาษีซื้อที่เกี่ยวกับการซื้อ เช่าซื้อ หรือซื้อสินค้าหรือรับบริการเกี่ยวกับรถยนต์ ที่ไม่ใช่รถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ต่อมาได้มีการดัดแปลงเป็นรถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ภายใน 3 ปี นับแต่เดือนภาษีที่ได้รถยนต์ไว้ครอบครอง
  11. ภาษีซื้อจากใบกำกับภาษีซื้อเต็มรูป ที่รายการชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษี ไม่ได้จัดทำด้วยระบบคอมพิวเตอร์ กรณีจัดทำใบกำกับภาษีด้วยคอมพิวเตอร์ทั้งฉบับเป็นภาษีซื้อต้องห้าม

ภาษีซื้อต้องห้ามที่ไม่ให้นำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ

  1. ไม่มีใบกำกับภาษี ใบกำกับภาษีสูญหาย หรือไม่อาจแสดงได้ว่ามีการชำระภาษีซื้อ
  2. ใบกำกับภาษีที่มีข้อความไม่ถูกต้อง สมบูรณ์ ในส่วนที่เป็นสาระสำคํญ
  3. ภาษีซื้อที่ไม่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการของผู้ประกอบการ
  4. ภาษีซื้อที่ออกโดยผู้ไม่มีสิทธิออกใบกำกับภาษี

   สำหรับผู้ประกอบการที่ไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม มาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้  ยกเว้นรายจ่ายบางประเภทที่กฎหมายไม่ให้นำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อคำนวณภาษี

ที่มา : กรมสรรพากร

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *