ภาษีมูลค่าเพิ่มกับการให้ส่วนลด

ภาษีมูลค่าเพิ่มกับการให้ส่วนลด

ในการประกอบธุรกิจขายสินค้าหรือให้บริการ บางธุรกิจจำเป็นต้องมีการส่งเสริมการขายเพื่อเพิ่มยอดขายและกำไร ซึ่งวิธีที่นิยมที่สุดคือการให้ส่วนลด (Discount) เพราะสามารถช่วยกระตุ้นให้เกิดการตัดสินใจซื้อของลูกค้าได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น นั่นเอง

🔴 ภาษีมูลค่าเพิ่มกับการให้ส่วนลด
.
ปัญหาการให้ส่วนลดสำหรับผู้ขายที่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มคือจะคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มจากยอดใดหากมีการให้ส่วนลดกับผู้ซื้อ หลักการคือต้องพิจารณาว่า การให้ส่วนลดดังกล่าวเป็นการให้ส่วนลดการค้า หรือ ส่วนลดเงินสด เพราะส่วนลด 2 ประเภทนี้มีวิธีการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มแตกต่างกัน
.
👉 ส่วนลดการค้า
ส่วนลดการค้า คือ เป็นส่วนลดที่มีการตกลงให้กันทันทีที่มีการตกลงซื้อขายกัน ไม่ว่าจะเป็นการลดเป็นตัวเงิน หรือ การที่ลูกค้านำคูปองหรือแสตมป์ที่สะสมมาแลกเป็นส่วนลด จะถือเป็นส่วนลดการค้า ทั้งสิ้น
.
วิธีการออกใบกำกับภาษีกรณีให้ส่วนลดการค้า
(1) ไม่ต้องนำมูลค่าส่วนลดมาเป็นฐานในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม
(2) ต้องแสดงมูลค่าส่วนลดในใบกำกับภาษีให้เห็นเป็นหลักฐาน มิฉะนั้นอาจเจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินมูลค่าสินค้าหรือบริการตามาตรา 6 ทวิ (4) ถือว่ากิจการขายสินค้าในราคาต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุอันควร
.
📌ยกตัวอย่างเช่น
ขายสินค้า 200,000 บาท
หัก ส่วนลด 10,000 บาท
ราคาหลังหักส่วนลด 190 ,000 บาท
ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% 13,300 บาท
ยอดรับชำระ 203,300 บาท
.
👉 ส่วนลดเงินสด
ส่วนลดเงินสด คือส่วนลดที่ผู้ขายลดให้ภายหลังจากมีการซื้อขายกันเรียบร้อยแล้ว เช่นผู้ขายตกลงให้ส่วนลดหากผู้ซื้อมีการชำระราคาภายในกำหนดเวลาที่กำหนด เช่นเงื่อนไขการชำระเงิน 2/10,/30 หมายถึง หากผู้ซื้อชำระเงินภายใน 10 วัน จะได้รับส่วนลด 2% แต่ต้องชำระภายใน 30 วัน ซึ่งส่วนลดเงินสดเป็นส่วนลดที่ให้หลังจากมีการออกใบกำกับภาษีและมีการส่งมอบสินค้ากันเรียบร้อยแล้ว ดังนั้น จึงไม่มีผลกระทบกับภาษีมูลค่าเพิ่มที่ได้ออกไปแล้ว
.
📌ยกตัวอย่างเช่น
ขายสินค้า 200,000 บาท
ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% 14,000 บาท
ราคารวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 214,000 บาท
หัก: ส่วนลด 10,000 บาท
ยอดรับชำระ 204,000 บาท
.

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *