ภาษีย้อนหลัง

ภาษีย้อนหลัง

👉 โดนภาษีย้อนหลังจะทำอย่างไรดี
👉ทำไมโดนภาษีย้อนหลังจึงเสียเงินเป็นล้าน
👉จะมีวิธีป้องกันไม่ให้โดนภาษีย้อนหลังอย่างไร
ก่อนอื่นไปรู้จักหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการจัดเก็บภาษีของบ้านเรา มี 3 หน่วยงานหลัก ๆ ด้วยกัน
🏢 กรมศุลกากร มีหน้าที่จัดเก็บอากรขาเข้า ขาออก ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ
🏢 กรมสรรพสามิต มีหน้าที่จัดเก็บภาษี สุรา ยาสูบ ไพ่ น้ำหอม น้ำมัน
🏢 กรมสรรพากร เป็นหน่วยจัดเก็บภาษีที่ใหญ่ที่สุด มีหน้าที่จัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ อากรแสตมป์
.
วิธีตรวจสอบภาษีย้อนหลังของกรมสรรพากร
• ออกตรวจเยี่ยม เจ้าหน้าที่ออกตรวจเยี่ยมด้วยตัวเอง
• นับสต๊อกสินค้า ทั้งธุรกิจที่ทำให้ประเทศและส่งออก เพื่อให้ทราบว่าผู้ประกอบการเสียภาษีครบถ้วนหรือไม่
• ตรวจสอบใบกำกับภาษี เพราะมีการปลอมแปลงใบกำกับภาษีเพื่อหลีกเลี่ยงภาษี
• ตรวจคืนภาษี นิยมใช้กับภาษีบุคคลธรรมดา
• ตรวจค้น เพื่อหาลักฐานเพิ่มเติมแล้วทำการอายัดบัญชี เอกสาร หรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการหลีกเลี่ยงภาษี
• ออกหมายเรียกตรวจสอบภาษี ผู้เสียภาษีต้องส่งบัญชี เอกสาร เพื่อให้ทำการตรวจสอบ
การตรวจสอบภาษีย้อนหลัง มีอายุความเท่าไหร่
• ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล มีอายุความตามหมายเรียก ภายใน 2 ปี นับจากวันที่ยื่นภาษี แต่ถ้ามีหลักฐานว่าบุคคลนั้นจงใจ หลีกเลี่ยงการจ่ายภาษี จริง จะสามารถขยายเวลาขออายุความไปได้ถึง 5 ปี
• ภาษีธุรกิจ สามารถเรียกเก็บย้อนหลังได้มากถึง 10 ปี ตาม มาตรา 193/31 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยไม่จำเป็นต้องออกหมายเรียกแต่อย่างใด ซึ่งอายุความเรียกเอาหนี้ภาษีอากรคืน จะนับตั้งแต่วันที่สิ้นสุดการยื่นแบบภาษี
.
⚖️ สิ่งที่ต้องทำเมื่อโดนภาษีย้อนหลัง
1️⃣ ทำใจและยอมรับ เตรียมข้อมูลและเข้าพบสรรพากรเพื่อเจรจา
2️⃣ ศึกษาโครงสร้างภาษีให้เข้าใจ หรือ ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับภาษี
3️⃣ คัด Statement ย้อนหลังตามที่สรรพากรขอตรวจ แยกรายการที่ไม่ใช่รายได้ออก พร้อมหลักฐานเท่าที่หาได้ เช่น พ่อ แม่ โอนให้ , ลูกหนี้โอนคืน
4️⃣ ทบทวนข้อมูลในการทำธุรกิจ เมื่อทางสรรพากรสงสัยประเด็นใด เพื่อชี้แจงได้
5️⃣ เข้าพบเจ้าหน้าที่ และส่งมอบเอกสารเท่าที่เจ้าหน้าที่ขอ
6️⃣ ภาษีสามารถขอผ่อนชำระได้ 3 เดือน โดยไม่เสียเงินเพิ่ม
7️⃣ กรณียอดภาษีจำนวนมาก ผ่อน 3 เดือนไม่ไหว สรรพการอาจต้องให้ใช้หลักประกัน
.

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *