ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายกับการให้ส่วนลด

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายกับการให้ส่วนลด

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายกับการให้ส่วนลด

🔴 ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายกับการให้ส่วนลด
.
ปัญหาอย่างหนึ่งในการให้ส่วนลดของผู้ขายที่ต้องพึงระวังอีกประการหนึ่งคือเรื่องการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย เนื่องจากตามประมวลรัษฎากรคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528 ข้อ 12/2 ได้กำหนดหลักเกณฑ์ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น ซึ่งเป็นผู้จ่ายรางวัล ส่วนลดหรือประโยชน์ใด ๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขายให้แก่ผู้รับซึ่งเป็น
(1) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ให้คำนวณหักภาษี ณ ที่จ่าย ไว้ในอัตราร้อยละ 3.0
(2) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในประเทศไทย แต่ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคม ให้คำนวณหักภาษี ณ ที่จ่าย ไว้ในอัตราร้อยละ 3.0
เว้นแต่ เป็นการให้ส่วนลด เนื่องจากการส่งเสริมการขายให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการซึ่งเป็นผู้บริโภคหรือเป็นผู้ประกอบการที่นำสินค้าหรือบริการไปใช้ในการประกอบกิจการของตนเองโดยตรง โดยมิได้มีวัตถุประสงค์ที่จะนำไปขายต่อ
.
👉 จากเงื่อนไขดังกล่าว ผู้ขายที่มีการให้ส่วนลดแก่ผู้ซื้อหรือผู้รับบริการเนื่องจากการส่งเสริมการขายจะต้องแยกผู้ซื้อหรือผู้รับบริการออกเป็น 2 ประเภทด้วยกัน คือ
.
✅ 1. ผู้ซื้อหรือผู้รับบริการซึ่งเป็นผู้บริโภคโดยตรง
กรณีเป็นผู้ซื้อหรือผู้รับบริการเพื่อนำไปสินค้าหรือบริการไปใช้เอง โดยมิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำไปขายต่อ จะได้รับยกเว้นไม่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ทั้งส่วนลดที่ลดให้ทันทีขณะตกลงซื้อขาย (ส่วนลดการค้า) หรือ ส่วนลดที่ให้ภายหลังเพื่อกระตุ้นให้ผู้ซื้อชำระค่าสินค้าเร็วขึ้น (ส่วนลดเงินสด)
.
✅ 2. ผู้ซื้อหรือผู้รับบริการเป็นผู้นำไปจำหน่ายต่อ
กรณีเป็นผู้ซื้อหรือผู้รับบริการที่มีวัตถุประสงค์ในการนำสินค้าไปขายต่อหรือให้บริการต่อ เช่นเป็นตัวแทนจำหน่าย ในการจ่ายเงินได้พึงประเมินที่เป็นรางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใดๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย อยู่ในข่ายต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528 โดยมีหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
.
ผู้จ่ายเงิน เป็น นิติบุคคล
ผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย (ผู้รับเงินหรือส่วนลด) เป็น นิติบุคคล หัก 3%
ผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย (ผู้รับเงินหรือส่วนลด) เป็น บุคคลธรรมดา หัก 3%
.
👉 ยกเว้นในกรณีดังต่อไปนี้ไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย
(1) เป็นส่วนลดที่ผู้ขายลดให้ทันทันที่ตกลงซื้อขาย หรือส่วนลดการค้า
(2) เป็นส่วนลดที่ผู้ขายลดให้ภายหลังหรือส่วนลดเงินลด หากผู้ขายมีการระบุเงื่อนไขส่วนลดเงินสดไว้บนใบส่งของ ใบแจ้งหนี้ หรือใบกำกับภาษีให้ชัดเจน ซึ่งต้องเป็นการให้ส่วนลดที่เป็นปกติตามประเพณีทางการค้า

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *