วิธีคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมเบี้ยปรับย้อนหลัง

วิธีคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมเบี้ยปรับย้อนหลัง

🎯 วิธีคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมเบี้ยปรับย้อนหลัง
.
หลายท่านเคยสงสัยหรือไม่ว่า เมื่อโดนประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มย้อนหลัง ทำไมเบี้ยปรับได้สูงนัก
.
ตามหลักการ คือ เมื่อประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการ (ที่ไม่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม) เมื่อมีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาท จะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีรายได้เกิน แต่หากผู้ประกอบการที่เข้าข่าย ไม่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมายกำหนดไว้ จะต้องรับผิดเบี้ยปรับ 2 เท่าของจำนวนเงินภาษี และเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน ซึ่งเจ้าหน้าที่สรรพากรคำนวณภาษีอย่างไร มีตัวอย่างให้ศึกษากันค่ะ
.
👉 ตัวอย่าง : ถูกตรวจสอบภาษีย้อนหลัง 2 ปี โดยปีแรกมีรายได้ 3,000,000 บาท และปีที่ 2 มีรายได้ 1,500,000 บาท รวมรายได้ 2 ปี คือ 4,500,000 บาท รายได้ที่ต้องนำมาคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ 2,700,000 บาท ( 4,500,000 – 1,800,000 = 2,700,000) จากกรณีข้างต้นจะเห็นว่า ในปีแรกมีรายได้ 3,000,000 บาท ซึ่งเกินจากฐาน 1,800,000 บาท ผู้ประกอบการมีหน้าที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและนำส่งภาษีขาย 7% จากยอด 1,200,000 บาท บวกกับรายได้ของปีที่ 2 อีก 1,500,000 บาท รวมยอดที่ต้องนำไปคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มคือ 2,700,000 บาท จะสังเกตุได้ว่าในปีที่ 2 แม้จะมียอดรายได้เพียง 1,500,000 บาท ซึ่งไม่ถึง 1,800,000 บาท ก็ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เพราะถือว่าผู้ประกอบการต้องเข้าอยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วตั้งแต่ปีแรก
.
ภาษีมูลค่าเพิ่มและเบี้ยปรับที่ผู้ประกอบการจะต้องเสีย มีดังนี้
ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% (2,700,000 x 7%) = 189,000 บาท
เบี้ยปรับ 2 เท่าของภาษี (189,000 x 2) = 378,000 บาท
เงินเพิ่มต่อเดือน (189,000 x1.5%) =2,835 ต่อเดือนจนกว่าจะชำระภาษีครบ
.
จะเห็นได้ว่า จำนวนภาษีรวมเบี้ยปรับทั้ง 2 ปี เป็น 567,000 บาท ซึ่งหากผู้ประกอบการไม่สามารถชำระภาษีให้ครบถ้วนได้ จะต้องรับผิดในเงินเพิ่มอีกเดือนละ 2,835 บาท จนกว่าจะชำระภาษีครบ
.
นี่คือตัวอย่างการคิดภาษีและเบี้ยปรับ และหากผู้ประกอบการถูกประเมินย้อนหลัง สัก 5 ปี หรือ10 ปี จำนวนเงินภาษีและเบี้ยปรับจะมากขนาดไหน บางทีกำไรที่หาได้อาจไม่พอจ่ายภาษีก็เป็นได้ หรืออาจล้มละลายกันได้เลยทีเดียว

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *