สรรพากรรู้รายได้ของเราได้อย่างไร ?

สรรพากรรู้รายได้ของเราได้อย่างไ

 

สรรพากรรู้รายได้ของเราได้อย่างไร

 

🧐 สรรพากรรู้รายได้ของเราได้อย่างไร ? 🤓
.
✅ 1. รายงานจากนายจ้าง
นายจ้าง มีหน้าที่ต้องรายงานรายได้และภาษีที่หัก ณ ที่จ่ายของพนักงานต่อกรมสรรพากรเป็นประจำปี โดยต้องส่งเอกสาร เช่น แบบ ภ.ง.ด.1, ภ.ง.ด.2, ภ.ง.ด.3 ซึ่งระบุรายได้ของพนักงาน
.
✅ 2. การรายงานจากสถานบันการเงินและบริษัทต่างๆ
👉 การเงิน เช่น ธนาคาร ต้องรายงานดอกเบี้ยเงินฝากที่จ่ายให้กับผู้ฝากเงิน
👉 ประกันภัย และบริษัทหลักทรัพย์ต้องรายงานรายได้จากดอกเบี้ย เงินปันผล และกำไรจากการขายหลักทรัพย์
👉 บริษัทอื่นๆ ที่มีการจ่ายเงินค่าบริการ ค่าเช่า ค่าลิขสิทธิ์ และอื่นๆ ต้องรายงานรายได้เหล่านี้ให้กรมสรรพากรทราบ
.
✅ 3. ข้อมูลจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน
👉 หน่วยงานรัฐ เช่น กรมที่ดิน รายการซื้อขายทรัพย์สิน หรือการโอนกรรมสิทธิ์ที่เกี่ยวข้องกับการเสียภาษี
👉 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการออกใบอนุญาตหรือการจดทะเบียน เช่น การจดทะเบียนรถยนต์ การจดทะเบียนบริษัท
.
✅ 4. ข้อมูลจากระบบภาษีหัก ณ ที่จ่าย
รายได้ที่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย เช่น ค่าจ้าง ค่าบริการ ค่าเช่า ดอกเบี้ย และอื่นๆ จะถูกรายงานไปยังกรมสรรพากรโดยผู้จ่ายเงิน ทำให้กรมสรรพากรทราบถึงรายได้ที่ผู้เสียภาษีได้รับ
.
✅ 5. การใช้ข้อมูล Big Data
กรมสรรพากรใช้เทคโนโลยีในการวิเคราห์ข้อมูลขนาดใหญ่ เพื่อระบุและตรวจสอบความผิดปกติ หรือการหลีกเลี่ยงภาษี เทคโนโลยีนี้สามารถเชื่อมโยงข้อมูลจากหลายแหล่ง และวิเคราะห์เพื่อหาความผิดปกติ
.
✅ 6. การรายงานจากบุคคลที่สาม เช่นคู่ค้า ลูกค้า บุคคลทั่วไป
บุคคลที่สาม เช่น คู่ค้า ลูกค้า หรือบุคคลทั่วไป สามารถรายงานข้อมูลหรือแจ้งเบาะแส เกี่ยวกับการหลีกเลี่ยงภาษีของผู้เสียภาษีแก่กรมสรรพากร
.
✅ 7. การตรวจสอบและตรวจทาน Audits
กรมสรรพากรสามารถทำการตรวจสอบบัญชี หรือเอกสารของผู้เสียภาษีที่ถูกสุ่มเลือก หรือต้องสงสัยว่ามีการหลีกเลี่ยงภาษี เพื่อยืนยันรายได้ที่รายงาน
.
✅ 8 . เก็บรวบรวมข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต
.
✅ 9. การแจ้งเบาะแส

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *