สามี – ภรรยา ประกอบกิจการร่วมกัน เสียภาษีอย่างไร

สามี - ภรรยา ประกอบกิจการร่วมกัน เสียภาษีอย่างไร

 

สามี - ภรรยา ประกอบกิจการร่วมกัน เสียภาษีอย่างไร

 

สามี - ภรรยา ประกอบกิจการร่วมกัน เสียภาษีอย่างไร

 

 

📌 สามี – ภรรยา ประกอบกิจการร่วมกัน เสียภาษีอย่างไร
.
การเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณี สามีภรรยาประกอบกิจการร่วมกัน
.
กิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ การทำกิจการในประเทศไทย ได้แก่
– การขายสินค้า หรือการให้บริการทางธุรกิจ หรือวิชาชีพ โดยผู้ประกอบการ
– การนำเข้าสินค้า โดยผู้นำเข้า
.
สำหรับกิจการที่สามีภรรยาทำร่วมกัน หากมีรายรับเกิน 1.8 ล้านบาท/ปี จะต้องจดทะเบียนและเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ในนามของสามีและภรรยาโดยต้องนำรายรับรวมทั้งหมดจากการประกอบกิจการ มายื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่อาจแบ่งรายรับแยกต่างหากออกจากกันได้ เนื่องจากภาษีมูลค่าเพิ่มถือเป็นหน่วยภาษีเดียวกัน
.
📌การเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีสามี – ภรรยา ประกอบกิจการร่วมกัน (มาตรา 57 ฉ.)
.
การยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
👉 1. การเลือกยื่นแบบรวมกัน สามีและภรรยาต้องนำรายได้ยื่นแบบฯ รวมกันและเสียภาษีในนามของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือ
.
👉 2. การเลือกยื่นแบบฯ แยกต่างหากจากกัน
– กรณีที่รายได้อาจแยกได้อย่างชัดแจ้งว่าเป็นของสามีหรือภรรยาแต่ละฝ่ายจำนวนเท่าใด สามีและภรรยาจะยื่นรายการและเสียภาษีต่างหากแยกจากันในนามของตนเองก็ได้
– กรณีที่รายได้ไม่อาจแยกได้อย่างชัดแจ้งว่าเป็นของสามีหรือภรรยาแต่ละฝ่ายจำนวนเท่าใด ก็ให้แบ่งรายได้เป็นของสามีและภรรยาฝ่ายละกึ่งหนึ่ง
– กรณีรายได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม ฯลฯ สามีและภรรยาจะแบ่างรายได้เป็นของแต่ละฝ่ายตามส่วนที่ตกลงกันก็ได้ แต่รวมกันต้องไม่น้อยกว่ารายได้ที่ได้รับ แต่ถ้าตกลงกันไม่ได้ ให้แบ่งรายได้สามีภรรยาออกคนละกึ่งหนึ่ง
.
ที่มากรมสรรพากร

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *