อากรแสตมป์ ภาษีที่ควรรู้จัก

อากรแสตมป์ ภาษีที่ีควรรู้จัก

📌 อากรแสตมป์ ภาษีที่ควรรู้จัก
.
🧐 อากรแสตมป์ เป็นภาษีในรูปแบบหนึ่ง ที่รัฐจัดเก็บจากการกระทำตราสาร(เอกสารแสดงสิทธิ์ต่างๆ) หรือ ทำสัญญา
.
• ภาระภาษี จะเกิดขึ้นเมื่อกระทำตราสารหรือสัญญานั้นเสร็จสมบูรณ์ คือ การลงลายมือชื่อคู่สัญญา
• ต้องเสียอากรแสตมป์ภายใน 15 วัน หลังจากกระทำตราสารเสร็จสมบูรณ์
• จัดเก็บจากการทำตราสารระหว่างกัน 28 ลักษณะ ตามที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราอากรแสตมป์
.
🧐 ตราสารที่ต้องเสียอากรแสตมป์
👉 1. ตราสารหรือสัญญาที่กฎหมายกำหนด เช่น
– สัญญาจ้างทำของ
– สัญญากู้ยืมเงิน
– สัญญาค้ำประกัน
– สัญญาเช่าที่ดิน
– สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ
– สัญญาร่วมลงทุน
.
👉 2. ตราสารหรือสัญญาที่ทำในประเทศไทย
.
👉 3. ตราสารหรือสัญญาที่ทำในต่างประเทศ แล้วนำกลับเข้ามาในประเทศไทย (ต้องเสียอากรภายใน 30 วัน)
.
🧐 การเสียอากรแสตมป์
ผู้ที่มีหน้าที่เสียอากรแสตมป์ คือ คู่สัญญาฝ่ายที่ได้รับค่าตอบแทน เช่น
– สัญญาเช่าที่ดิน ผู้ให้เช่า เป็นผู้เสียอากร
– สัญญากู้ยืมเงิน ผู้ให้กู้ เป็นผู้เสียอากร
วิธีการเสียอากรแสตมป์
– ปิดอากรแสตมป์ทับบนกระดาษแล้วขีดคร่อม
– ใช้แสตมป์ดุนบนกระดาษ (ปัจจุบันไม่เป็นที่นิยม)
– ชำระเป็นเงินสด* (สำหรับตราสาร 12 ประเภท ตามบัญชีอากรแสตมป์ ประมวลรัษฎากร)
.
📄 ข้อควรรู้เกี่ยวกับอากรแสตมป์
• อากรแสตมป์เป็นเพียงเครื่องมือในการจัดเก็บภาษี ไม่ใช่กฎหมาย
• สามารถซื้ออากรแสตมป์ได้ที่กรมสรรพากร
• สัญญาปากเปล่าไม่มีหนังสือ ไม่ต้องเสียอากรแสตมป์ (อากรแสตมป์ จัดเก็บจากการทำสัญญาเป็นหนังสือเท่านั้น)
• การไม่เสียอากร ไม่ได้ทำให้ตราสารนั้นไร้ผลทางกฎหมาย แต่มีผลทำให้ตราสารหรือตราสารนั้นใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้
• อากรแสตมป์ไม่ใช่ดวงตราไปรษณียากร ไม่สามารถนำไปใช้ปิดซองจดหมายได้

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *