เกณฑ์การตัดหนี้สูญ

เกณฑ์การตัดหนี้สูญ

📍เกณฑ์การตัดหนี้สูญ ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 186
.
คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติหลักการร่างกฎหมาย เพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ของการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ สาระสำคัญของกฎหมายในการปรับปรุงหลักเกณฑ์การจำหน่ายหนี้สูญ สรุปได้ดังนี้
.
ลักษณะหนี้ที่สามารถตัดหนี้สูญได้
เป็นหนี้ที่เกิดจากการประกอบกิจการ ห้ามเป็นหนี้ซึ่งผู้เป็นลูกหนี้ คือ กรรมการ หรือ หุ้นส่วนผู้จัดการ (เงินให้กู้ยืมแก่กรรมการ ไม่สามารถตัดหนี้สูญได้) ต้องเป็น หนี้ที่ยังไม่ขาดอายุความ และต้องมีหลักฐานโดยชัดแจ้งที่สามารถฟ้องลูกหนี้ได้ (โดยทั่วไปอายุความการติดตามทวงถามเพื่อให้ลูกหนี้ชำระหนี้มี 2 ปี)
.
📌การจำหน่ายหนี้สูญแบ่งได้ 3 กรณี
👉1.ไม่เกิน 2 แสนบาท .มีหลักฐานการติดตามทวงถามแล้วไม่ได้ชำระหนี้ หากจะฟ้องร้องต้องเสียค่าใช้จ่ายไม่คุ้มกับหนี้ที่จะได้รับชำระ
.
👉2.เกิน 200,000 บาทไม่เกิน 2 ล้านบาท.ฟ้องลูกหนี้ในคดีแพ่งและศาลได้มีคำสั่งรับคำฟ้อง หรือยื่นคำขอเฉลี่ยหนี้ในคดีที่ลูกหนี้ถูกเจ้าหนี้รายอื่นฟ้องในคดีแพ่งและศาลได้มีคำสั่งรับคำขอนั้นแล้ว กรรมการหรือหุ้นส่วนผู้จัดการต้องมีคำสั่งอนุมัติให้จำหน่ายหนี้สูญ ภายใน 30 วันนับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีนั้น
.
👉3.เกิน 2,000,000 บาท ฟ้องลูกหนี้ในคดีแพ่ง หรือยื่นคำขอเฉลี่ยหนี้ โดยได้มีหมายบังคับคดีของศาลแล้ว และมีรายงานการบังคับคดีครั้งแรก ของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่แสดงได้ว่ามีการดำเนินการบังคับคดีแล้ว แต่ลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินใดจะชำระหนี้สินได้
👇
🧐 กรณีลูกหนี้ถูกฟ้องล้มละลาย
บริษัทจะตัดหนี้สูญได้ เมื่อศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยกับการประนอมหนี้นั้น หรือ ลูกหนี้ถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย และได้มีการแบ่งทรัพย์สินของลูกหนี้ครั้งแรกแล้ว
.
🧐 ในกรณีมีการฟ้องร้องต่อศาล หรือกรณีลูกหนี้ถูกฟ้องล้มละลายที่ได้ทำในต่างประเทศ ต้องมีเอกสารหลักฐานในการดำเนินการที่ผู้มีอำนาจตามกฎหมายของประเทศนั้นๆ ออกให้ และเอกสารหลักฐานต้องได้รับการรับรองคำแปล จากภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทย(ตามระเบียบของกระทรวงการต่างประเทศว่าด้วยการรับรองเอกสาร)

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *