เช่ารถ กับ รับขนส่ง หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายแตกต่างกันอย่างไร

เช่ารถ กับ รับขนส่ง หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายแตกต่างกันอย่างไร

📌 เช่ารถ กับ รับขนส่ง หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายแตกต่างกันอย่างไร
.
🚛 เช่ารถ หมายถึง การที่ผู้เช่าได้ครอบครองและใช้ประโยชน์จากรถซึ่งได้เช่ามาจากผู้ให้เช่า และตกลงให้ค่าเช่า โดยจะคืนรถนั้นตามระยะเวลาที่ตกลงกันในสัญญา เงินค่าเช่ารถถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (5)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร ผู้จ่ายค่าเช่ามีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 5.0
.
👉 เว้นแต่ ผู้ให้เช่าเป็นมูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้ แต่ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคมที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดตามมาตรา 47(7)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร ให้ผู้จ่ายค่าเช่าหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 10.0
.
🚛 รับขนส่ง หมายถึง ผู้รับขนส่งทำหน้าที่รับขนคน หรือขนสิ่งของ จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งตามคำสั่งของผู้ว่าจ้าง โดยผู้ว่าจ้างไม่ได้ครอบครองรถที่ใช้รับขนส่ง ผู้จ่ายเงินค่าจ้างรับขนส่งมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 1.0 ซึ่งต่างจากการเช่ารถ
.
👉 สรุป!! เช่ารถพร้อมจัดให้มีคนขับรถให้บริการตามช่วงระยะเวลาในการเช่ารถนั้น ไม่ใช่การรับขนส่ง เพราะผู้เช่าใช้ประโยชน์จากคนขับรถที่จัดหามาพร้อมรถ ถือว่ารถที่เช่านั้นอยู่ในครอบครองของผู้เช่า แตกต่างจากการรับขนส่งที่รับขนส่งไปยังจุดหมายปลายทางและสิ้นสุดเพียงเท่านั้น ผู้ว่าจ้างไม่มีสิทธิ์ครอบครองรถที่ใช้ขนส่ง

ที่มา ธรรมนิติ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *