ใบกำกับภาษี

ใบกำกับภาษี

📌 ใบกำกับภาษี คือ เอกสารหลักฐานที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม มีหน้าที่ต้องจัดทำ และออกให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ ทุกครั้งที่ขายสินค้าหรือให้บริการ และต้องจัดทำอย่างช้าในทันทีที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น เพื่อแสดงมูลค่าของสินค้าหรือบริการ และจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผุ้ประกอบการเรียกเก็บ หรือพึงเรียกเก็บจากการขายสินค้าหรือให้บริการในแต่ละครั้ง
.
เว้นแต่ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ขายสินค้าชนิดและประเภทเดียวกันให้แก่ผู้ซื้อสินค้ารายหนึ่งรายใดเป็นจำนวนหลายครั้งในหนึ่งวันทำการ ผู้ประกอบการจดทะเบียนดังกล่าวสามารถจัดทำใบกำกับภาษีรวมเพียงครั้งเดียวในหนึ่งวันทำการสำหรับผู้ซื้อสินค้ารายนั้นก็ได้
.
👉 ใบกำกับภาษีเต็มรูปต้องมีรายละเอียดอะไรบ้าง
1. เห็นคำว่า “ใบกำกับภาษี” ชัดเจน
2. มีเลขประจำตัวผู้เสียภาษี รวมถึงชื่อและที่อยู่ของผู้ขาย
3. ชื่อและที่อยู่ของผู้ซื้อ
4. เลขที่ใบกำกับภาษี
5. ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และจำนวนเงิน
6. แยกแสดงจำนวน VAT แยกให้เห็นชัดเจน
7. วัน เดือน ปี ที่ออก
8. ข้อความอื่นที่อธิบดีกำหนด บังคับใช้กับผู้ประกอบการ
– ระบุ “สำนักงานใหญ่”หรือ“สาขาที่…..” ของผู้ขาย
– เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ซื้อ (โดยเฉพาะผู้ซื้อที่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม)
– ระบุ “สำนักงานใหญ่”หรือ“สาขาที่…” ของผู้ซื้อ
.
👉 ใบกำกับภาษีอย่างย่อ
สำหรับกิจการที่มีการขายสินค้าหรือให้บริการเป็นจำนวนมาก ในการออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปให้กับผู้ซื้อหรือผู้รับบริการ อาจทำให้ไม่สะดวกในหลาย ๆ ประการเช่น การต้องขอชื่อ ที่อยู่ของลูกค้า เพื่อนำมาออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป ซึ่งบางครั้งลูกค้าไม่สะดวกในการให้ข้อมูลดังกล่าว ดังนั้นการออกใบกำกับภาษีอย่างย่อจึงเป็นทางเลือกสำหรับผู้ประกอบการ แต่ไม่ใช่ทุกประเภทกิจการจะได้รับสิทธิในการออกใบกำกับภาษีอย่างอย่อได้
.
ผู้ที่มีสิทธิออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ ได้แก่ ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ประกอบกิจการขายสินค้าในลักษณะขายปลีก โดยผู้ซื้อ ซื้อสินค้าเพื่อนำไปบริโกค ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำไปขายต่อ หรือเป็นการให้บริการในลักษณะบริการรายย่อยแก่บุคคลจำนวนมาก หากกิจการเข้าลักษณะเป็นกิจการค้าปลีกแล้ว มีสิทธิออกใบก ากับภาษีอย่างย่อได้เลยโดยไม่ต้องขออนุมัติต่ออธิบดีกรมสรรพากร
.
👉 ใบกำกับภาษีอย่างย่อ ต้องมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(1) คำว่า “ใบกำกับภาษีอย่างย่อ” ในที่ที่เห็นได้เด่นชัด
(2) ชื่อหรือชื่อย่อและเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ออกใบกำกับภาษี
(3) หมายเลขลำดับของใบกำกับ และหมายเลขลำดับของเล่ม (ถ้ามี)
(4) ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และมูลค่าของสินค้าหรือของบริการ
(5) ราคาสินค้าหรือราคาค่าบริการ โดยต้องมีข้อความระบุชัดเจนว่า ได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มไว้แล้ว
(6) วัน เดือน ปี ที่ออกใบกำกับภาษี
(7) ข้อความอื่นที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *