ได้รับจดหมายจากกรมสรรพากร ทำอย่างไรดี

ได้รับจดหมายจากสรรพากร

เมื่อได้รับจดหมายจากกรมสรรพากร ควรทำอย่างไร

           หลายท่านเมื่อได้รับจดหมายจากทางกรมสรรพากร ไม่ว่าในจดหมายจะเป็นด้วยวัตถุประสงค์อะไร  มักจะรู้สึกตกใจแ ละไม่สบายใจเมื่อได้รับจดหมาย  บ้างก็ทำตัวไม่ถูกและมีความวิตกกังวลเลยด้วยซ้ำ แต่ทางที่ดีเราควรตรวจสอบให้ชัดเจนว่า จดหมายที่ส่งมานั้นระบุความผิดในระดับใด เพราะในบางครั้งอาจจะเป็นการเข้ามาแนะนำข้อมูล เข้ามาตรวจสอบ ขอให้ชี้แจงบางประเด็นเท่านั้น หรือหากเป็นการแจ้งความผิดจริง ก็ต้องยอมรับในความผิดนั้น ๆ

           เชื่อว่าผู้ประกอบการหลายท่านน่าจะทราบกันดีว่า ตั้งแต่ช่วงปี 2559 เป็นต้นมา ทางภาครัฐได้ออกนโยบาย บัญชีชุดเดียวผลักดันให้ธุรกิจเข้ามาสู่ระบบภาษีที่ถูกต้อง ไม่หลบเลี่ยงภาษี จากนโยบายจะเห็นได้ว่ารัฐบาลจะเข้มงวด และตรวจสอบการยื่นภาษีให้ถูกต้องนั่นเอง นี่คืออีกสาเหตุหนึ่งของการส่งจดหมายเพื่อขอตรวจสอบ

.           ในการประกอบธุรกิจ ควรจัดทำบัญชีให้ถูกต้องมากที่สุด ไม่ว่าจะในรูปแบบบุคคลธรรมดา ที่ต้องจำทำบัญชีรับ -จ่าย หรือประกอบธุรกิจในนามนิติบุคคล ต้องจัดทำบัญชีและภาษีให้ถูกต้องตามกฎหมายจะเป็นการดีที่สุด  เพราะหากถูกเรียกเก็บภาษีเพิ่มเติม เบี้ยปรับจะสูงถึง 2 เท่า รวม ๆ  แล้วอาจต้องสูญเสียเงินมากถึง 3 หรือ 4 เท่า กันเลยทีเดียว  เพราะฉะนั้นเริ่มต้นอย่างถูกต้องไว้จะดีที่สุด

หากได้รับจดหมายเรียกจะต้องเตรียมตัวอย่างไรได้บ้าง

  1. ตั้งสติและอ่านให้เข้าใจสรรพากรต้องการอะไร

สิ่งสำคัญก็คือตั้งสติ อ่านและตรวจสอบให้ดีว่าจดหมายดังกล่าวระบุถึงเรื่องราวประเด็นใดไว้บ้าง  เป็นจดหมายที่ถูกต้องตามหลักราชการหรือไม่ เพื่อป้องกันผู้แอบอ้างที่มีเจตนาหลอกลง  เมื่อตรวจสอบแล้วอ่านดูว่าเจ้าหน้าที่ต้องการจะตรวจภาษีอะไร ต้องการใช้เอกสารประเภทไหน  ผู้ที่นัดเราเป็นใคร นัดหมายเมื่อไหร่ หรือต้องโทรไปนัด เป็นต้น หลายท่านอาจจะตื่นตระหนกจนอ่านข้อความไม่ถี่ถ้วน จนทำให้เตรียมเอกสารผิดพลาดหรือเสียเวลาเตรียมเอกสารมากเกินความจำเป็น  ในการเข้ามาตรวจสอบหรือจดหมายที่ส่งมาอาจจะไม่ได้เลวร้ายเสมอไป ด้วยภาษีประเทศไทยนั้น เป็นระบบการประเมินการจ่ายด้วยตัวเอง บางครั้งอาจจะเกิดความผิดพลาดในการกรอกข้อมูลได้ ทางสรรพากรจึงขอเข้ามาตรวจแนะนำเพื่อให้ความรู้เท่านั้น

          คำเตือน เมื่อได้รับจดหมายจากกรมสรรพากรอย่าละเลย ต้องเข้าไปพบ ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบอย่างเต็มที่

  1. ศึกษาโครงสร้างภาษีให้เข้าใจ หรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางด้านภาษี

หาที่ปรึกษาที่มีความรู้ ผู้เชี่ยวชาญด้านบัญชีและภาษี ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย เพราะจะมีความรอบรู้ ช่วยแนะนำแนวทางในการช่วยผ่อนหนักเป็นเบาได้ หรือในกรณีอาจต้องมีการลงนามในเอกสารต่าง ๆ เมื่อลงนามไปแล้วอาจเกิดผลเสียในระยะยาวได้

  1. ทบทวนข้อมูลในการทำธุรกิจที่ผ่านมา

   ลองทบทวนข้อมูลในการทำธุรกิจย้อนหลัง กระบวนการ การจัดทำบัญชี หากมีข้อซักถาม จะสามารถตอบข้อซักถามได้

  1. เตรียมเอกสารให้พร้อม

  (2.1)  จัดเตรียมเอกสารตามที่เจ้าหน้าที่จะขอตรวจให้พร้อมอย่างรอบคอบ  ศึกษาเอกสารเหล่านั้นให้เข้าใจ เพราะหากถูกซักถามจะได้ตอบคำถามได้ 

  (2.2) ส่งมอบเอกสารให้เท่าที่เจ้าหน้าที่ขอตรวจ เพราะบางครั้งเอกสารบางอย่างอาจนำไปสู่ประเด็นการตรวจสอบในกรณีอื่น ๆ ได้

  1. แสดงเจตจำนงว่าไม่ได้มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี

ไม่ว่าประเด็นในการถูกตรวจสอบนั้น อาจจะผิดจริงโดยตั้งใจหรือไม่ได้ตั้งใจก็ตาม  พยายามแสดงเจตจำนงเอาไว้ตลอดว่า ไม่ได้มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี และพร้อมให้ความร่วมมือในการตรวจสอบอยู่เสมอ และพร้อมที่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักการตลอดเวลา หากผิดจริงพร้อมที่จะปรับปรุง แก้ไข และปฏิบัติให้ถูกต้องต่อไป

  1. ขอลดเบี้ยปรับ ขอผ่อนชำระ หรือขอยื่นอุทธรณ์

สำหรับกรณีที่เรามีความผิดจริง ก็ยังพอมีทางออกที่ช่วยเยียวยาได้อยู่ ไม่ว่าจะเป็นการทำจดหมาย ยื่นคำร้องเพื่อขอลดเบี้ยปรับ จากเหตุผลที่ว่าไม่ได้เจตนารมณ์หลีกเลี่ยงภาษี แต่เป็นเพราะความผิดพลาด ด้านการคำนวณหรือความรู้ด้านกฎหมาย และหากคิดว่าไม่เป็นตามหลักการจริงๆ ก็สามารถยื่นอุทธรณ์ ได้อีกด้วย หรือท้ายที่สุดหากเบี้ยปรับเป็นจำนวนสูงและเราไม่สามารถผ่อนชำระได้ภายในครั้งเดียว อาจจะเป็นขอผ่อนชำระก็นับว่าเป็นทางออกที่ควรศึกษาไว้เช่นกัน

และหากเห็นว่าการประเมินของเจ้าพนักงานไม่ถูกต้องต้อง สามารถยื่นอุทธรณ์การประเมินได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับจดหมายหนังสือแจ้งการประเมิน

          ประเด็นเรื่องภาษีและการจัดทำเอกสารให้ถูกต้องนับว่าเป็นประเด็นสำคัญในการประกอบธุรกิจ ดังนั้นผู้ประกอบการหันมาวางแผนภาษีให้รอบคอบ เสียภาษีอย่างประหยัดแบบถูกกฎหมายมีหลากหลายวิธี เพื่อให้การได้รับจดหมายขอตรวจสอบจากกรมสรรพากรเป็นจดหมายฉบับสุดท้ายกันนะ 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *