6 เรื่องภาษีที่ผู้ประกอบการควรรู้

6 เรื่องภาษีที่ผู้ประกอบการควรรู้

6 เรื่องภาษีที่ผู้ประกอบการควรรู้

ผู้ประกอบการที่ประกอบธุรกิจไม่ว่าจะในนามบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล สิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ควรเรียนรู้คือเรื่องของภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ ถึงแม้ว่าจะมีผู้ดูแดด้านบัญชีและภาษีแล้วก็ตาม เพราะหากทำไม่ถูกต้อง ครบถ้วน และถูกปรับย้อนหลังขึ้นมา ผู้เสียหายและต้องเสียค่าปรับดังกล่าวคือผู้ประกอบการนั่นเอง

.

  1. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

    ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลธรรมดาหรือผู้ประกอบการในนามบุคคลธรรมดา ที่มีเงินได้จาก มาตรา 40(1)-(8) ได้แก่ เงินเดือน, ค่าเช่า, ค่าแห่งลิขสิทธิ์, ดอกเบี้ย, เงินปันผล, เงินได้จากธุรกิจ ซึ่งเมื่อมีเงินได้ถึงเกณฑ์ตามที่กฎหมายกำหนด มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีภายในกำหนดเวลา ถึงแม้จะไม่มีภาษีต้องชำระก็ตาม

เงินได้ขั้นต่ำที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการ

เงินได้ 40(1)  หากโสดมีเงินได้ตั้งแต่ 120,000 บาทต่อปีขึ้นไป   หากสมรสและใช้สิทธิยื่นรวม เงินได้ขั้นต่ำ 220,000 บาท

เงินได้ ม.40(2) – (8) เงินได้ตั้งแต่ 60,000 บาทต่อไป ขึ้นไป หากสมรสและใช้สิทธิยื่นรวม เงินได้ขั้นต่ำ 120,000 บาท

การยื่นแบบแสดงรายการ

เงินได้ตามม.40(1) เงินเดือนอย่างเดียว ให้ ยื่นแบบ ภงด.91  

เงินได้ตาม ม.40 (2) – (8) ค่าจ้างทั่วไป ค่าลิขสิทธิ์  ดอกเบี้ย ค่าเช่า วิชาชีพอิสระ จ้างทำของ ค้าขาย ให้ยื่นแบบ ภงด.90

กำหนดเวลายื่นแบบ   ภายในเดือนมีนาคม ของปีถัดไป

               ยกเว้นผู้มีเงินได้ตาม ม. 40(5)-(8) คือ เงินได้จากค่าเช่า วิชาชีพอิสระ จ้างทำของ รับเหมาและค้าขายทั่วไป  ต้องยื่นแบบแสดงรายการครึ่งปี ด้วยแบบ ภงด.94 ภายในเดือนสิงหาคม ของปี

  1. ภาษีเงินได้นิติบุคคล

   ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ได้แก่ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ และหมายความรวมถึงนิติบุคคลอื่นๆ ที่ไม่ได้จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล จาก กำไรสุทธิ โดยคำนวณภาษีจาก กำไร(ขาดทุน)สุทธิทางภาษี คูณด้วย อัตราภาษีที่กำหนด  

การยื่นแบบแสดงรายการ

    ภาษีเงินได้นิติบุคคลกลางปี  (ภ.ง.ด.51)    ภายใน 2 เดือนนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลา 6 เดือนของรอบระยะเวลาบัญชี

   ภาษีเงินได้นิติบุคคลประจำปี (ภ.ง.ด.50)  ภายใน 150 วัน นับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี

.

      3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม

ภาษีที่จัดเก็บเพิ่มจากมูลค่าของการซื้อขายสินค้าหรือบริการในประเทศไทย และจัดเก็บเพิ่มจากการนำเข้าสินค้า อัตราภาษีอยู่ที่ 7% แบ่งงออกเป็นภาษีมูลเพิ่ม 6.3% + ภาษีท้องถิ่น 0.7% กรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนมียอดขายสินค้าหรือบริการที่ไม่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มเกิน 1,800,000 บาทต่อปี จะต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)  

     การยื่นแบบและชำระภาษี

      ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องชำระ  =  ภาษีขาย – ภาษีซื้อ    5

   กำหนดการยื่นแบบ

    ยื่นแบบ ภ.พ.30  ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป (กรณียื่นออนไลน์สามารถขยายเวลาออกไปได้อีก 8 วัน)   จะต้องยื่นแบบแสดงรายการทุกเดือนแม้จะไม่มีรายการเคลื่อนไหวก็ตาม

.

4. ภาษีธุรกิจเฉพาะ

ภาษีธุรกิจเฉพาะเป็นภาษีทางอ้อมอีกประเภทหนึ่งที่เริ่มบังคับใช้พร้อมกับภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อปี 2535 แทนภาษีการค้าที่ยกเลิกไป

  กิจการกิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ได้แก่

  1. การธนาคาร
  2. การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
  3. การรับประกันชีวิต
  4. การรับจำนำ
  5. การประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์
  6. การขายอสังหาริมทรัพย์เป็นการค้าหรือหากำไร
  7. การขายหลักทรัพย์
  8. การประกอบกิจการอื่น ตามกำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา

อัตราภาษีธุรกิจเฉพาะของแต่ละธุรกิจจะไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับประเภทธุรกิจนั้น ๆ บวกด้วยภาษีท้องถิ่นอีก ร้อยละ 10  หากเดือนใดคำนวณแล้วมีภาษีต้องชำระไม่ถึง 100 บาท ก็ไม่ต้องชำระภาษี แต่ยังคงมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการ

กำหนดการยื่นแบบ

  ยื่นแบบ ภ.ธ.40  ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป  

.

5. ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย เป็นการจัดเก็บภาษีล่วงหน้ากำหนดให้ผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่หักภาษีจากเงินที่จ่ายให้แก่ผู้รับทุกครั้งที่จ่าย ซึ่งการหักภาษีต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนด หลังจากนั้นให้นำเงินส่งกรมสรรพากร

      อัตราภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย

เงินเดือน, ค่าที่ปรึกษา, ค่านายหน้า (เงินได้ ม.40(1)-(2)  –  อัตราภาษีคิดจากอัตราก้าวหน้า

ค่าเช่า – อัตราภาษี 5%

ค่าบริการ, ค่าจ้างทำของ – อัตราภาษี 3%

ค่าโฆษณา – อัตราภาษี 2%

ค่าประกันภัย, ค่าขนส่ง – อัตราภาษี 1%

     การยื่นแบบแสดงรายการ

                จ่ายเงินได้ ม. 40(1)-(2) ให้บุคคลธรรมดา             ภ.ง.ด.1

                จ่ายเงินได้ ม.40(3)-(4)  ให้บุคคลธรรมดา             ภ.ง.ด.2

                จ่ายเงินได้ ม.40(5)-(8) ให้บุคคลธรรมดา              ภ.ง.ด.3

                 จ่ายเงินได้ ม.40(2)-(8) ให้นิติบุคคล                    ภ.ง.ด.53

                จ่ายเงินได้ ม.40(2)-(6) ไปนอกราชอาณาจักร        ภ.ง.ด.54

กำหนดการยื่นแบบ

      ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป  (กรณียื่นแบบออนไลน์สามารถขยายเวลาออกไปได้อีก 8 วัน)

6.อากรแสตมป์

            อากรแสตมป์เป็นภาษีประเภทหนึ่งที่จัดเก็บจากการทำตราสาร หรือธุรกรรมบางอย่าง จะมีอยู่ทั้งหมด 28 ลักษณะตราสาร เช่น ตราสารเช่าที่กับโรงเรือน เช่าซื้อทรัพย์สิน จ้างทำของ กู้ยืมเงิน ฯลฯ เป็นต้น โดยสามารถชำระเป็นอากร ซื้อได้ที่กรมสรรพากร หรือเป็นเงินสด ในตราสารบางประเภท และต้องขออนุมัติด้วย  อ.ส.4 ก่อน

          บัญชีอัตราอากรแสตมป์ของตราสารแต่ละประเภทไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับลักษณะของตราสาร

   วิธีเสียอากร

  1.                แสตมป์ทับตราสารแล้วขีดฆ่าอากร
  2.    แสตมป์ดุน คือการได้เสียอากรโดยใช้กระดาษมี แสตมป์ดุนเป็นราคาไม่น้อยกว่า อากรที่ต้องเสีย  และขีดฆ่าแล้ว (ปัจจุบันไม่นิยม)
  3.    ในกรณีชำระเป็นตัวเงิน (สำหรับตราสาร 12  ประเภท ตามบัญชีอากรแสตมป์ ประมวลรัษฎากร

กำหนดเวลาเสียอากร

  ภายใน 15 วัน หลังจากกระทำตราสารเสร็จสมบูรณ์

สัญญาที่ทำใน ตปท. แล้วนำกลับเข้ามาในไทย (ต้องเสียภายใน 30 วัน)           

   

ข้างต้นเป็นภาษีหลัก ๆ ที่หนีไม่พ้นจะต้องพบเจอ   เรียนรู้ วางแผน จะได้เสียภาษีอย่างถูกต้องกันนะคะ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *