ความแตกต่างระหว่างบริษัทกับห้างหุ้นส่วน

บริษัทกับห้างหุ้นส่วนต่างกันอย่างไร

📍ความแตกต่างระหว่างบริษัทกับห้างหุ้นส่วน
.
👉บริษัทจำกัด คือ บุคคลตั้งแต่ 3 คนขึ้นไปร่วมกันทำกิจการโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไรจากการดำเนินกิจการนั้นมาแบ่งกัน โดยบริษัทจำกัดจะแบ่งทุนออกเป็นหุ้น มูลค่าหุ้นละเท่าๆ กัน ผู้ลงทุนในบริษัทเรียกว่า ผู้ถือหุ้น โดยผู้ถือหุ้นรับผิดไม่เกินจำนวนเงินที่ตนถือหุ้น เมื่อจดทะเบียนบริษัทจำกัดแล้ว จะมีสภาพเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายแยกกับผู้ถือหุ้น และได้รับเลขทะเบียนนิติบุคคล 13 หลัก ซึ่งจะถูกใช้เป็นเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของกรมสรรพากร
.
👉ห้างหุ้นส่วน คือ บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปตกลงทำธุรกิจร่วมกันเพื่อแสวงหากำไร และแบ่งผลกำไรจากการดำเนินธุรกิจ บุคคลที่เป็นหุ้นส่วนสามารถลงหุ้นด้วยเงิน ทรัพย์สิน หรือแรงงานก็ได้ ถ้าลงหุ้นด้วย ทรัพย์สิน หรือแรงงานต้องคิดราคาเป็นจำนวนเงิน
.
👉ห้างหุ้นส่วนแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
.
😊1. ห้างหุ้นส่วนสามัญ คือ ห้างหุ้นส่วนที่มีบุคคลเป็นหุ้นส่วนประเภทเดียวกัน คือ “หุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด” โดยหุ้นส่วนทุกคนจะต้องรับผิดชอบร่วมกันในหนี้สินของห้างหุ้นส่วนทั้งหมดโดยไม่จำกัด ห้างหุ้นส่วนสามัญจะจดทะเบียนหรือไม่ก็ได้ ถ้าจดทะเบียนเรียกว่า ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล และมีสภาพเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย
.
😊2. ห้างหุ้นส่วนจำกัด คือ ห้างหุ้นส่วนที่มีหุ้นส่วน 2 ประเภท ได้แก่ หุ้นส่วนจำกัดความรับผิด (รับผิดไม่เกินจำนวนเงินที่ลงหุ้น) และ อีกประเภท คือ หุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด (รับผิดร่วมกันในหนี้สินของห้างหุ้นส่วนทั้งหมดโดยไม่จำกัด)
.
📍ความแตกต่างอย่างมีสาระสำคัญมีแค่ 2 เรื่องเท่านั้นคือ
.
👉1. ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียน บริษัทจะเสียค่าธรรมเนียมที่มากกว่าหจก. ดังนั้นใครที่ต้องการทุนจดทะเบียนมากเพื่อไปรับงานราชการ (โดยปกติงานราชการจะมีกำหนดทุนจดทะเบียนขั้นต่ำของผู้ที่จะรับงาน) ก็จะนิยมจดทะเบียนเป็นหจก.
.
👉2. ภาระความรับผิดชอบ บริษัทนั้นจะมีความรับผิดชอบจำกัดตามเงินที่ลงไปในทุนจดทะเบียน เช่นทุนจดทะเบียนบริษัท 10,000 บาท ผู้ถือหุ้นเอาเงินใส่ครบ 10,000 บาทแล้ว ต่อมาบริษัทดำเนินกิจการติดหนี้ติดสิน 10 ล้าน ก็ไม่ต้องไปรับผิดชอบมัน เพราะเราใส่เงินไปครบแล้ว แต่ หจก. จะทำแบบนั้นไม่ได้เพราะมีผู้ส่วนประเภทหุ้นส่วนผู้จัดการที่มีความรับผิดชอบไม่จำกัดต่อหนี้สิน
.
👉👉สรุปถ้าไม่มีปัญหาเรื่องค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนจัดตั้ง เราควรเลือกประกอบการในรูปแบบบริษัทจำกัด

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *