เมื่อไหร่กิจการควรจดทะเบียนเพิ่มสาขา

เมื่อไหร่กิจการควรจดทะเบียนเพิ่มสาขา

📌 เมื่อไหร่กิจการควรจดทะเบียนเพิ่มสาขา
.
👉 สถานประกอบการที่เข้าข่ายลักษณะที่ต้องจดทะเบียนเพิ่มสาขา จะต้องเป็นสถานที่ที่ผู้ประกอบการใช้ประกอบกิจการเป็นประจำ ซึ่งหมายรวมถึงสถานที่ซึ่งเป็นที่ผลิตหรือเก็บสินค้าเป็นประจำด้วย โดยสถานประกอบการที่ต้องจดทะเบียนเพิ่มสาขา แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
.
1.ใช้ประกอบกิจการ เช่น หน้าร้านขายสินค้า
2.ใช้ในการผลิตสินค้าหรือวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ เช่น โรงงานผลิตสินค้า
3.ใช้เป็นคลังเก็บสินค้า เช่น โกดังเก็บสินค้า
.
แต่อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วว่า หากสถานที่ตั้งใช้ประกอบกิจการเพียงแค่ชั่วคราว จะไม่ถือเป็นสถานประกอบการ ซึ่งถ้าหากทั้ง 3 ประเภทดังกล่าวนี้ใช้เป็นเพียงสถานที่ตั้งชั่วคราว ก็ไม่จำเป็นต้องจดทะเบียนเพิ่มสาขาเช่นกัน
.
📌👉 ลักษณะแบบไหนไม่ต้องจดทะเบียนเพิ่มสาขา
.
– จ้างบริษัทอื่นผลิตสินค้าหรือวัสดุอุปกรณ์ให้ โดยไม่มีพนักงานของกิจการไปปฏิบัติงาน หรือให้บริการลูกค้าเลย หลังจากผลิตเสร็จผู้รับจ้างผลิตก็ส่งสินค้าคืนให้กับกิจการ ลักษณะนี้จะไม่เข้าเงื่อนไขสถานประกอบการประจำ จึงไม่ต้องจดทะเบียนเพิ่มสาขา
– เช่าโกดังเก็บสินค้า และผู้รับฝากรับผิดชอบในการดูแลรักษาสินค้าของกิจการ หากเกิดการเสียหาย สูญหาย ผู้รับฝากต้องรับผิดชอบ ซึ่งเข้าลักษณะเป็นการให้บริการรับฝากทรัพย์ รวมทั้งกิจการไม่มีสิทธิครอบครองคลังสินค้าที่ใช้จัดเก็บสินค้า จึงไม่ถือเป็นสถานที่เก็บสินค้าประจำ และไม่ต้องจดทะเบียนเพิ่มสาขา
– กิจการรับเหมาก่อสร้าง หน่วยงานก่อสร้าง หรือที่อยู่อาศัยเพื่อก่อสร้างบ้าน คอนโดให้กับลูกค้า เมื่อสร้างเสร็จก็ย้ายออกจากหน่วยก่อสร้างนั้นๆ ซึ่งถือเป็นหน่วยก่อสร้างชั่วคราว ไม่ต้องจดทะเบียนสาขา
– จัดบูธขายสินค้าหรือแนะนำสินค้าตามงานแสดงสินค้าต่างๆ เนื่องจากไม่ได้ประกอบกิจการเป็นประจำ จึงไม่ต้องจดทะเบียนสาขา
.
ผู้ประกอบการที่มีสถานประกอบการมากกว่า 1 แห่งจะต้องทำการจดทะเบียนเพิ่มสาขา สรรพากรมีกำหนดโทษเกี่ยวกับการเพิ่มสถานประกอบการสาขา โดยไม่แจ้งเพิ่มล่วงหน้าอาจต้องระวางโทษอาญาตามมาตรา 90/1 คือปรับไม่เกิน 5,000 บาท ค่าปรับอาจจะเล็กน้อยแค่ 5,000 บาท แต่ถ้าสรรพากรเล่นใหญ่มาก ผู้ประกอบการอาจจะร้องขอชีวิต
.
ยกตัวอย่างเช่น
▶️ ️ใบกำกับภาษีซื้อ ปกติเวลาเราซื้อสินค้าจะต้องมีการระบุสาขาที่ใช้ใบกำกับภาษีซื้อ แสดงว่าใบกำกับภาษีซื้อจะต้องเคลมให้ตรงสาขา ดังนั้นภาษีซื้อที่เกี่ยวกับสาขาดังกล่าว สรรพากรสามารถตีเป็นภาษีซื้อต้องห้ามได้
.
▶️ ในกรณีเรามีการเปิดหน้าร้านขายสินค้าอีกแห่งหนึ่งนอกจากสำนักงานใหญ่ แต่เนื่องจากปัญหาต่างๆ เราจึงไม่ได้ดำเนินการจดทะเบียนสาขาเพิ่มให้ถูกต้อง ในการขายสินค้าให้ลูกค้าใบกำกับภาษีขายจะมีให้กำหนดสาขาที่ออกใบกำกับภาษี เนื่องจากเรายังไม่ได้จดทะเบียนสาขา ผู้ประกอบการส่วนใหญ่จะระบุสาขาที่ออกใบกำกับภาษีขายเป็น “สำนักงานใหญ่” ซึ่งเป็นการออกใบกำกับภาษีขายไม่ถูกต้องก็จะเป็นเรื่องใหญ่ ดังนั้นใครที่มีสถานประกอบการหลายแห่งควรที่จะจดทะเบียนเพิ่มสาขาให้ถูกต้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *