ภ.พ.36 คืออะไร

ภ.พ.36 คืออะไร

📌 ภ.พ. 36 ก็คือ แบบที่นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ซึ่งผู้ที่จ่ายชำระค่าสินค้าหรือบริการ จะเป็นผู้ยื่นภาษีมูลค่าเพิ่ม ในอัตรา 7% แทนผู้ขายหรือผู้ให้บริการที่ประกอบกิจการในต่างประเทศนั่นเอง
.
🧐 ใครมีหน้าที่ในการยื่นแบบ ภ.พ.36 ?
👉 ผู้จ่ายเงินค่าสินค้าหรือบริการ ให้แก่ผู้ประกอบการที่อยู่ต่างประเทศ ซึ่งได้มีการเข้ามาประกอบกิจการขายสินค้าหรือบริการในประเทศไทยชั่วคราว และไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นการชั่วคราว หรือ จะเป็นผู้ประกอบการที่ได้ให้บริการในต่างประเทศ และได้มีการใช้บริการนั้นในประเทศไทย
.
👉 ผู้รับโอนสินค้าหรือผู้รับโอนสิทธิในบริการที่ได้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ได้แก่ การรับโอนสินค้าหรือบริการที่ได้ขายหรือการให้บริการกับองค์การสหประชาชาติ สถานเอกอัครราชทูต สถานทูต สถานกงสุลใหญ่ สถานกงศุล ทั้งนี้ เฉพาะการขายสินค้าหรือบริการดังกล่าวที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด
.
👉 ผู้ทอดตลาดที่ขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ประกอบการจดทะเบียน หรือส่วนราชการซึ่งขายทรัพย์สินของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ถูกยึดมาตามกฎหมายโดยวิธีอื่นนอกจากการขายทอดตลาด
.
** ผู้จ่ายจะต้องยื่นแบบ ภ.พ.36 ไม่เกินวันที่ 7 ของเดือนถัดไปยื่น ภ.พ.36 ล่าช้ามีบทลงโทษยังไงบ้าง
.
ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ยื่นแบบ ภ.พ.36 ตามมาตรา 83/6 แห่งประมวลรัษฎากร ต้องรับผิดทุกครั้งที่มีการยื่นแบบ ภ.พ.36 เป็นราย ๆ ไป
🧐 กรณีไม่ยื่นแบบฯภายในกำหนดเวลา ต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มและมีความรับผิด ดังนี้
.
1. ค่าปรับอาญา ตามมาตรา 90(5) แห่งประมวลรัษฎากร ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท แต่อัตราที่ควรเปรียบเทียบปรับ ถ้ายื่นแบบฯ ภายใน 7 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลา 300 บาท หากยื่นแบบฯ เกิน 7 วัน 500 บาท ตามข้อผ่อนปรนการปรับ
2. เงินเพิ่ม ในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือน ตามมาตรา 89/1 แห่งประมวลรัษฎากร
.
ทั้งนี้ กรณีไม่ได้ยื่นแบบฯ หรือยื่นแบบฯ นำส่งเมื่อพ้นกำหนดเวลา หรือยื่นแบบฯ ไว้ไม่ถูกต้อง ไม่ต้องเสียเบี้ยปรับ เสียเฉพาะเงินเพิ่ม ตามข้อ 18 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.81/2542ฯ เว้นแต่กรณีรับโอนสินค้าหรือรับโอนสิทธิในบริการที่ได้เสียภาษี ในอัตราร้อยละ 0
ดังนั้น กรณีบริษัทชำระค่าบริการให้แก่ผู้ประกอบการที่ได้ให้บริการในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร โดยยื่นแบบ ภ.พ.36 นำส่งเงินภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 83/6(2) แห่งประมวลรัษฎากร เกินกำหนดเวลา จึงต้องรับผิดเสียเฉพาะค่าปรับอาญา เงินภาษี และเงินเพิ่มเท่านั้น

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *