การหักค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

การหักค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

📌เงินได้ 8 ประเภทเสียภาษีอย่างไร
.
👉1. เงินได้ประเภทที่ 1 หรือ มาตรา 40(1)
เงินได้จากการจ้างแรงงาน เช่น เงินเดือนโบนัส ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น
-เงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส บำเหน็จ บำนาญ
-เงินค่าเช่าบ้านที่ได้รับจากนายจ้าง
-เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้าน ซึ่งนายจ้างให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า
-เงินที่นายจ้างจ่ายชำระหนี้ใด ๆ ซึ่งลูกจ้างมีหน้าที่ต้องชำระ
-เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใด ๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน เช่น มูลค่าของการได้รับประทานอาหาร เป็นต้น
สามารถหักค่าใช้จ่าย 50% ไม่เกิน 100,000 บาท หากมีเงินได้ประเภทที่ 1 และ 2 ให้นำเงินได้ทั้ง 2 ประเภท รวมกันแต่หักได้ไม่เกิน 100,000 บาท
.
👉2. เงินได้ประเภทที่ 2 หรือ มาตรา 40(2)
เงินได้เนื่องจากหน้าที่ หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้ ไม่ว่าจะเป็น
-ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า ค่าส่วนลด
-เงินอุดหนุนในงานที่ทำ เบี้ยประชุม บำเหน็จ โบนัส
-เงินค่าเช่าบ้านที่ได้รับเนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้
-เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้าน ที่ผู้จ่ายเงินได้ให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า
-เงินที่ผู้จ่ายเงินได้จ่ายชำระหนี้ใด ๆ ซึ่งผู้มีเงินได้มีหน้าที่ต้องชำระ
-เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใด ๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำหรือ จากการรับทำงานให้นั้น ไม่ว่าหน้าที่หรือตำแหน่งงาน หรืองานที่รับทำให้นั้นจะเป็นการประจำหรือชั่วคราว
สามารถหักค่าใช้จ่าย 50% ไม่เกิน 100,000 บาท หากมีเงินได้ประเภทที่ 1 และ 2 ให้นำเงินได้ทั้ง 2 ประเภท รวมกันแต่หักได้ไม่เกิน 100,000 บาท
.
👉3. เงินได้ประเภทที่ 3 หรือ มาตรา 40(3)
เงินได้ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ (ค่าความนิยม) ค่าแห่งลิขสิทธิ์หรือสิทธิอย่างอื่น เงินปี หรือเงินได้ที่มีลักษณะ เป็นเงินรายปี อันได้มาจากพินัยกรรม นิติกรรมอย่างอื่น หรือคำพิพากษาของศาล สามารถหักค่าใช้จ่าย 50% ไม่เกิน 100,000 บาท หรือตามจริง
.
👉4. เงินได้ประเภทที่ 4 หรือ มาตรา 40(4)
ดอกเบี้ยจากพันธบัตร ดอกเบี้ยเงินฝาก รวมถึงเงินปันผล จากการปันผลกำไร ประโยชน์อื่นใดที่ได้จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล เงินโบนัสที่ได้จากการเป็นผู้ถือหุ้น ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนหุ้น เป็นต้น ไม่สามารถหักค่าใช้จ่ายได้
.
👉5. เงินได้ประเภทที่ 5 หรือ มาตรา 40(5)
เงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน เงินหรือประโยชน์อย่างอื่น ที่ได้เนื่องจาก
-การให้เช่าทรัพย์สิน
-การผิดสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน
-การผิดสัญญาซื้อขายเงินผ่อนซึ่งผู้ขายได้รับคืนทรัพย์สินที่ซื้อขายนั้นโดยไม่ต้องคืนเงินหรือประโยชน์ที่ได้รับไว้แล้ว
สามารถหักค่าใช้จ่ายตามจริงหรืออัตราเหมา
บ้าน โรงเรือน สิ่งปลูกสร้าง แพ 30%
ที่ดินที่ใช้ในการเกษตร 20%
ที่ดินที่มิได้ใช้ในการเกษตร 15%
ยานพาหนะ 30%
ทรัพย์สินอื่น 10%
.
👉6. เงินได้ประเภทที่ 6 หรือ มาตรา 40(6)
เงินได้จากวิชาชีพอิสระต่างๆ เช่น วิชากฎหมาย การประกอบโรคศิลป์ (แพทย์) วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรม หรือวิชาชีพอื่นที่กฎหมายกำหนด สามารถหักค่าใช้จ่ายตามจริงหรืออัตราเหมา
– ประกอบโรคศิลปะ 60%
– กฎหมาย วิศวกรรม สถาปัตยกรรม บัญชี ประณีตศิลปกรรม 30%
.
👉7. เงินได้ประเภทที่ 7 หรือ มาตรา 40(7)
เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระ ในส่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ เช่น การรับเหมาก่อสร้าง สามารถหักค่าใช้จ่ายตามจริงหรืออัตราเหมา 60%
.
👉8. เงินได้ประเภทที่ 8 หรือ มาตรา 40(😎
เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง การขายอสังหาริมทรัพย์ หรือการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ในประเภทที่ 1 ถึงประเภทที่ 7 แล้ว สามารถหักค่าใช้จ่ายตามจริงหรืออัตราเหมา 40% และ 60%
.
ตามพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 629) พ.ศ.2560 ดังนั้น ถ้าหากใครมีรายได้หลายทาง ก็อย่าลืมเอารายได้ทุกทางมายื่นภาษีเงินได้ให้ถูกต้อง และที่สำคัญต้องเลือกประเภทรายได้ให้ถูกต้องตามกฎหมายด้วยนะ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *