การจดทะเบียนเลิกบริษัทจำกัด

การจดทะเบียนเลิกบริษัทจำกัด

การเลิกบริษัทจำกัด
.
👉 1. บริษัทจะเลิกกันได้ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
😎 1.1 เลิกโดยผลของกฎหมาย
(1) กรณีข้อบังคับกำหนดเหตุเลิกไว้และเมื่อมีเหตุนั้นเกิดขึ้น
(2) ตั้งบริษัทโดยกำหนดระยะเวลาไว้และเมื่อสิ้นสุดระยะเวลานั้น
(3) ตั้งบริษัทเพื่อทำกิจการอย่างหนึ่งอย่างใด และเมื่อทำกิจการนั้นเสร็จแล้ว
(4) บริษัทล้มละลาย
.
😎 1.2 โดยความประสงค์ของผู้ถือหุ้นผู้ถือหุ้นลงมติพิเศษให้เลิกบริษัท การเลิกและชำระบัญชีบริษัทจำกัดในกรณีที่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติพิเศษให้เลิกบริษัท โดยดำเนินการจัดประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น เพื่อลงมติพิเศษให้เลิกบริษัทด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนผู้ถือหุ้นที่เข้าประชุม
.
😎 1.3 เลิกโดยคำสั่งศาล เหตุที่ศาลจะสั่งเลิกบริษัทคือ
(1) ทำผิดในการยื่นรายงานประชุมตั้งบริษัท หรือทำผิดในการประชุมตั้งบริษัท
(2) บริษัทไม่เริ่มประกอบการภายใน 1 ปีนับแต่จดทะเบียน หรือหยุดทำการถึง 1 ปี
(3) การค้ามีแต่ขาดทุนและไม่มีหวังกลับฟื้นคืน
(4) จำนวนผู้ถือหุ้นเหลือไม่ถึง 3 คน
(5) เมื่อมีเหตุที่ทำให้บริษัทเหลือวิสัยที่จะดำรงอยู่ได้
.
คำขอจดทะเบียนเลิกและอำนาจของผู้ชำระบัญชีของบริษัท จะต้อองลงลายมือชื่อโดยผู้ชำระบัญชี ซึ่งได้แก่ กรรมการที่ลงชื่อผูกพันบริษัทตามที่จดทะเบียนไว้ก่อนเลิกการแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีของบริษัท หากข้อบังคับของบริษัทไม่ได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น กรรมการทุกคนของบริษัทต้องเป็นผู้ชำระบัญชี โดยผลของกฎหมาย ถ้าผู้ชำระบัญชีมีหลายคน ผู้ชำระบัญชีทุกคนต้องกระทำการร่วมกัน เว้นแต่ที่ประชุมใหญ่หรือศาลจะได้กำหนดอำนาจไว้เป็นอย่างอื่น
.
ในกรณีที่บริษัทไม่ได้กำหนดข้อบังคับในเรื่องการตั้งผู้ชำระบัญชีไว้ หากบริษัทประสงค์จะตั้งกรรมการบางคน หรือ กรรมการคนใดคนหนึ่ง หรือบุคคลอื่นที่ไม่ใช่กรรมการของบริษัทเป็นผู้ชำระบัญชี จะต้องให้ที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นของบริษัทมีมติตั้งผู้ชำระบัญชีหรือกำหนดอำนาจของผู้ชำระบัญชี เมื่อบริษัทจำกัดซึ่งเป็นนิติบุคคลเลิกกัน บริษัทจะยังคงตั้งอยู่เพื่อการชำระบัญชี การเลิกบริษัทกรณีอื่นนอกจากล้มละลายต้องมีการแต่งตั้งผู้ชำระบัญชี เพื่อดำเนินการจดทะเบียนเลิกบริษัทและชำระบัญชีของ บริษัทให้เสร็จสิ้นไป เช่น การรวบรวมทรัพย์สิน ชำระหนี้ ชดใช้เงินทดรองและค่าใช้จ่ายที่กรรมการได้ออกไป
.
ในการดำเนินกิจการค่าบริษัท หากมีทรัพย์สินเหลือให้คืนทุนและเฉลี่ยเป็นกำไรในระหว่างผู้ถือหุ้น และจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี เมื่อได้จดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีแล้ว การฟ้องคดีเรียกหนี้สินที่บริษัท กรรมการหรือผู้ชำระบัญชีเป็นหนี้อยู่นั้น จะต้องทำการฟ้องภายใน 2 ปีนับแต่วันเสร็จสิ้นการชำระบัญชี
.
2. ผู้ชำระบัญชีจัดทำคำขอและยื่นคำขอจดทะเบียนเลิกบริษัท
3. ประกาศโฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่ 1 ครั้ง (บอกกล่าวการเลิก)
4. ส่งคำบอกกล่าวเป็นจดหมายลงทะเบียนไปรษณีย์ไปยังเจ้าหนี้ (ถ้ามี)
ขั้นตอนตาม 2-4 ผู้ชำระบัญชีต้องดำเนินการภายใน 14 วัน นับแต่วันที่เลิกบริษัท
.
👉 ข้อมูลที่ต้องใช้
1.วันที่เลิกบริษัท
2.ชื่อ ที่อยู่อาชีพ และอายุของผู้ชำระบัญชี
3.อำนาจผู้ชำระบัญชี
4.ที่ตั้งสำนักงานของผู้ชำระบัญชี
แบบพิมพ์จดทะเบียนสามารถ Download ที่เว็บไซต์ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
.
เอกสารหลักฐานที่ต้องใช้ในการจดทะเบียนเลิก
1. แบบคำขอจดทะเบียนเลิก (แบบ ลช.1)
2. รายการจดทะเบียนเลิก (แบบ ลช.2) *ผู้ชำระบัญชีต้องลงลายมือชื่อทุกคน*
3. สำเนาคำสั่งศาลให้เลิกบริษัท (ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้เลิก)
4. สำเนารายงานการประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น ซึ่งผู้ถือหุ้นที่มีมติตั้งผู้ชำระบัญชีหรือกำหนดอำนาจผู้ชำระบัญชีเป็นอย่างอื่น โดยมีกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนบริษัทตามที่จดทะเบียนไว้ก่อนเลิกบริษัท ลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้อง (ใช้เฉพาะกรณีที่ผู้ชำระบัญชีมิใช่กรรมการทุกคนตามที่จดทะเบียนไว้ก่อนเลิก หรือ กำหนดอำนาจของผู้ชำระบัญชีเป็นอย่างอื่นซึ่งมิใช่อำนาจของกรรมการตามที่จดทะเบียนไว้ก่อนเลิก)
5. แผนที่แสดงที่ตั้งสำนักงานของผู้ชำระบัญชี และสถานที่สำคัญบริเวณใกล้เคียงโดยสังเขป
(ใช้เฉพาะกรณีที่สำนักงานของผู้ชำระบัญชีมิใช่ที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ตามที่จดทะเบียนไว้ก่อนเลิก)
6. สำเนาใบมรณะบัตร (ใช้เฉพาะกรณีกรรมการถึงแก่กรรม)
7. สำเนาบัตรประจำตัวของผู้ชำระบัญชีทุกคน *ดูหลักเกณฑ์เรื่องบัตรประจำตัว*
8. สำเนาหลักฐานการเป็นผู้รับรองลายมือชื่อ (ถ้ามี) *ดูหลักเกณฑ์การลงลายมือชื่อผู้ขอจดทะเบียน*
9. หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)
สำเนาเอกสารประกอบคำขอจดทะเบียนทุกฉบับ ต้องให้ผู้ขอจดทะเบียนอย่างน้อยหนึ่งคนรับรองความถูกต้อง ยกเว้นสำเนาบัตรประจำตัวหรือหลักฐานการเป็นผู้รับรองลายมือชื่อผู้ขอจดทะเบียน ให้ผู้เป็นเจ้าของบัตรหรือผู้ขอจดทะเบียนอย่างน้อยหนึ่งคนเป็นผู้ลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้อง
.
การลงลายมือชื่อในคำขอจดทะเบียนเลิก (แบบ ลช.1)
1. กรณีที่กรรมการทุกคนเข้าเป็นผู้ชำระบัญชี อำนาจผู้ชำระบัญชีจะต้องเป็นไปตามอำนาจกรรมการตามที่จดทะเบียนไว้ก่อนเลิกบริษัท ดังนั้น ในการลงลายมือชื่อในคำขอจดทะเบียน (แบบ ลช.1) จะต้องลงลายมือชื่อตามอำนาจ
2. กรณีที่ผู้ชำระบัญชีเป็นกรรมการคนใดคนหนึ่งหรือบุคคลอื่นที่ไม่ใช่กรรมการเพียงคนเดียว
3. กรณีที่มีการแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีหลายคน และไม่ได้กำหนดอำนาจผู้ชำระบัญชีไว้ ก็ให้ผู้ชำระบัญชีทุกคนลงลายมือชื่อร่วมกันการลงลายมือชื่อและการกรอกข้อมูลในรายการจดทะเบียนเลิก (แบบ ลช. 2)ให้ระบุรายละเอียดของผู้ชำระบัญชีทุกคนพร้อมทั้งให้ลงลายมือชื่อ
.
ที่มา dbd.go.th

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *