ใบกำกับภาษี

ใบกำกับภาษี

ใบกำกับภาษี

ใบกำกับภาษี

ใบกำกับภาษี

ใบกำกับภาษี

📌 ใบกำกับภาษี (Tax Invoice) คือ เอกสารหลักฐานสำคัญ ซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจะต้องจัดทำ และออกใบกำกับภาษีให้กับผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการทุกครั้งที่มีการขายสินค้าหรือให้บริการ เพื่อแสดงมูลค่าของสินค้าหรือบริการ และจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ผู้ประกอบการจดทะเบียน เรียกเก็บหรือพึงเรียกเก็บจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการในแต่ละครั้ง
.
👉 การออกใบกำกับภาษี
📋 1.กรณีการขายสินค้า
ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมีหน้าที่ต้องจัดทำใบกำกับภาษี พร้อมทั้งส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อสินค้าในทันทีที่มีการส่งมอบสินค้า หรือเมื่อได้มีการโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้าให้กับผู้ซื้อก่อนส่งมอบสินค้า หรือเมื่อได้รับชำระราคาสินค้าก่อนส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้ซื้อ แล้วแต่กรณี
.
📋 2.กรณีการให้บริการ
ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมีหน้าที่ต้องจัดทำใบกำกับภาษี พร้อมทั้งส่งมอบให้แก่ผู้รับบริการในทันทีที่ได้รับชำระค่าบริการ หรือเมื่อได้มีการใช้บริการนั้นไม่ว่าโดยตนเองหรือบุคคลอื่น
ก่อนได้รับชำระค่าบริการ แล้วแต่กรณี
นอกจากนี้ ผู้ประกอบการจดทะเบียนจะต้องจัดทำสำเนาใบกำกับภาษี และเก็บรักษาสำเนาใบกำกับภาษีไว้ ณ สถานประกอบการ หรือสถานที่อื่นที่อธิบดีกำหนดเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี
.
👉 ประเภทของใบกำกับภาษี
1. ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป (มาตรา 86/4)
2. ใบกำกับภาษีอย่างย่อ (มาตรา 86/6)
3. ใบเพิ่มหนี้ (มาตรา 86/9)
4. ใบลดหนี้ (มาตรา 86/10)
5. ใบเสร็จรับเงินที่ส่วนราชการออกให้ในการขายทอดตลาดหรือโดยวิธีอื่นตามมาตรา83/5
6. ใบเสร็จรับเงินของกรมสรรพากรที่ออกให้ส าหรับการช าระภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 83/6 หรือมาตรา 83/7 (มาตรา 86/14)
7. ใบเสร็จรับเงินของกรมศุลกากร หรือกรมสรรพสามิต ออกให้ในการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อกรมสรรพากร (มาตรา 86/14)
.
👉 กรณีที่ไม่ต้องออกใบกำกับภาษี

ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ขายสินค้าหรือให้บริการ ต้องออกใบกำกับภาษีทุกครั้งที่มี
การขายสินค้าหรือการให้บริการ เว้นแต่ ในกรณีดังต่อไปนี้ มีกฎหมายและแนวทางปฏิบัติของกรมสรรพากร
ให้สิทธิเลือกไม่ต้องออกใบกำกับภาษีก็ได้
1. การขายสินค้าหรือให้บริการรายย่อยกำหนดให้กิจการรายย่อยไม่ต้องออกใบกำกับภาษีสำหรับการขายสินค้าหรือ
การให้บริการที่มีมูลค่าครั้งหนึ่งไม่เกิน 1,000 บาท เว้นแต่ ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการจะเรียกร้องใบกำกับภาษี สำหรับกิจการดังต่อไปนี้
1.1 การขายสินค้าหรือให้บริการ ซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่เคยมีมูลค่าของฐานภาษีในเดือนใดถึง 300,000 บาท
1.2 การขายสินค้าหรือให้บริการซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนมีสถานประกอบการแต่ละแห่งเป็นรถเข็น แผงลอย หรือหน่วยงานที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน
1.3 การให้บริการการแสดง การเล่น การกีฬา การแข่งขัน การประกวดหรือการกระทำใด ๆ ในลักษณะทำนองเดียวกันที่จัดขึ้นเพื่อเก็บเงินจากผู้ดู ผู้ฟัง ผู้เล่น หรือผู้เข้าแข่งขัน
1.4 การประกอบกิจการให้บริการโทรศัพท์สาธารณะ
1.5 การประกอบกิจการให้บริการทางพิเศษหรือทางหลวงสัมปทาน
1.6 การประกอบกิจการให้บริการสนามบิน
1.7 การประกอบกิจการให้บริการสาธารณะที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการขนส่งมวลชน เช่น การให้บริการสถานที่จอดรถหรือให้บริการห้องสุขาแก่ประชาชนผู้มาใช้บริการรถไฟฟ้า
.
2. การขายน้ำมันเชื้อเพลิงของสถานบริการน้ำมัน
การขายน้ำมันเชื้อเพลิงของสถานบริการน้ำมันโดยผ่านมิเตอร์หัวจ่ายอันมีลักษณะเป็นการขายสินค้าหรือให้บริการรายย่อยแก่บุคคลจำนวนมาก มีสิทธิที่จะขายน้ำมันเชื้อเพลิงโดยไม่ต้องออกใบกำกับภาษีสำหรับการขายน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีมูลค่าครั้งหนึ่งไม่เกิน 1,000 บาท เว้นแต่ผู้ซื้อสินค้าจะเรียกร้องใบกำกับภาษี โดยจะต้องยื่นคำขออนุมัติต่ออธิบดีกรมสรรพากรพร้อมแนบเอกสารหลักฐาน ได้แก่
สำเนา ภ.พ.20 สำเนาใบอนุญาตเป็นผู้ค้าน้ำมัน หรือใบทะเบียนจัดตั้งสถานีบริการน้ำมันตามกฎหมายว่าด้วย การค้าน้ำมันเชื้อเพลิง และแผนผังแสดงที่ตั้งพร้อมทั้งจำนวนหัวจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงและถังเก็บน้ำมันตามกฎหมาย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *