ความแตกต่างใบกำกับภาษีเต็มรูป กับ ใบกำกับภาษีอย่างย่อ

ความแตกต่างใบกำกับภาษีเต็มรูป กับ ใบกำกับภาษีอย่างย่อ

สรุปสาระสำคัญ ความแตกต่างใบกำกับภาษีเต็มรูป กับ ใบกำกับภาษีอย่างย่อ

ความแตกต่างใบกำกับภาษีเต็มรูป กับ ใบกำกับภาษีอย่างย่อ

ใบกำกับภาษี (Tax Invoice) คือ เอกสารหลักฐานสำคัญ ซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจะต้องจัดทำและออกให้กับผู้ซื้อสินค้าหรือบริการทุกครั้งที่มีการขายสินค้าหรือบริการ เพื่อแสดงมูลค่าของสินค้าหรือบริการและจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนเรียกเก็บหรือพึงเรียกเก็บจากผู้ซื้อสินค้าหรือบริการในแต่ละครั้ง แต่มากไปกว่านั้น ใบกำกับภาษี ยังแบ่งได้ออกอีกเป็น 2 ประเภท คือ
1. ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปแบบ
2. ใบกำกับภาษีอย่างย่อ
โดยเนื้อหาหลักๆที่ใบกำกับภาษีอย่างย่อต้องมี คือ
– ต้องมีระบุในใบว่า “ใบกำกับภาษีอย่างย่อ”
– วัน/เดือน/ปี ที่ออกใบกำกับภาษี
– เลขที่ใบกำกับภาษี
– ชื่อ/ชนิด/ประเภท/ปริมาณ/ราคา ของสินค้าที่ซื้อขาย
– ชื่อ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีของผู้ขาย
– ราคาสินค้าบริการ โดยต้องระบุยอดรวม Vat แล้ว
– ข้อความอื่นที่อธิบดีกำหนด
.
ส่วนในเนื้อหาของใบกำกับภาษีอย่างเต็มรูปแบบที่เพิ่มมาจากใบกำกับภาษีอย่างย่อ คือ
– ต้องระบุให้ชัดเจนในใบว่าเป็น “ใบกำกับภาษี”
– ต้องระบุ ชื่อ ที่อยู่ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีของผู้ขาย
– ต้องระบุ ชื่อ ที่อยู่ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีของผู้ซื้อ
– ส่วนเนื้อหาอื่นๆนั้นคงยังต้องมีเหมือนกับใบกำกับภาษีอย่างย่อ
.
ส่วนสำคัญที่ต่างกันของใบกำกับภาษี 2 แบบนี้ คือ
*ใบกำกับภาษีอย่างย่อ จะไม่สามารถนำไปหักออกจากภาษีขายในการคำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อนำส่ง ภ.พ.30 ได้
*ใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบ สามารถนำไปหักออกจากภาษีขายในการคำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อนำส่ง ภ.พ.30 ได้
.
แล้วใครจะสามารถออกใบกำกับภาษีอย่างย่อได้บ้างหละ?
กิจการในระบบ VAT ที่มีลักษณะขายปลีก โดยเป็นการขายให้แก่ผู้บริโภคโดยตรง หมายถึงการซื้อไปใช้เองไม่ได้นำไปขายต่อ เช่น ร้านสะดวกซื้อ ร้านค้าแผงลอย ร้านขายของชำ ร้านขายยา ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น
กิจการในระบบ VAT ที่ให้บริการรายย่อยแก่บุคคลจำนวนมาก เช่น ร้านอาหาร โรงแรม โรงภาพยนตร์ เป็นต้น
โดยผู้ประกอบการต้องยื่นขอกรมสรรพากรก่อนเพื่อจดขอออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ
ที่มา : www.topmultiprints.com

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *