วิธีการคำนวณภาษีหักณ ที่จ่ายแบบออกแทน

วิธีการคำนวณภาษีหักณ ที่จ่ายแบบออกแทน

🎯 ใครยังคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่าย แบบออกแทนให้ไม่เป็น วันนี้แอดมิน นำวิธีคำนวณมาฝากค่ะ
1️⃣ ออกให้ตลอดไป
.
สูตรคำนวณ = จำนวนเงินได้ที่จ่าย x อัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย หารด้วย (100 – อัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย)
👉 ตัวอย่างเช่น จ่ายค่าบริการ จำนวน 10,000 บาท ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 3% คำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่าย แบบออกให้ตลอดไป ดังนี้
✅ ภาษีหัก ณ ที่จ่ายออกให้ตลอดไป = 10,000 x 3/(100-3) = 309.28 บาท
✅ เงินได้ที่ถือเป็นฐานในการคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่าย = 20,000+309.28 = 10,309.28 บาท
✅ เมื่อคูณอัตราภาษี 3% ก็จะได้ภาษีหัก ณ ที่จ่าย = 10,309.28 x 3% = 309.28 บาท
ภาษีที่ออกแทนให้ ผู้ให้บริการต้องถือรวมเป็นเงินได้ ดังนั้นในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย เป็นดังนี้
✅ ต้องกรอกค่าบริการ 10,309.28 บาท ภาษีหัก ณ ที่จ่าย 309.28 บาท
💰 จำนวนเงินที่ผู้ให้บริการจะได้รับจริง = 10,309.28 – 309.28 = 10,000 บาท
.
2️⃣ ออกให้ครั้งเดียว
.
สูตรคำนวณ = (จำนวนเงินได้ที่จ่าย + ภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่ออกให้ครั้งเดียว) x อัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย
ต้องนำ ภาษีหัก ณ ที่จ่ายตามอัตราภาษีปกติ บวก จำนวนเงินได้ที่จ่าย แล้วนำ ผลรวม คูณ อัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย อีกครั้ง จึงจะเป็นยอด ภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่ออกให้ครั้งเดียว
.
👉 ตัวอย่างเช่น จ่ายค่าบริการ จำนวน 10,000 บาท ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 3% คำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายแบบออกให้ครั้งเดียว ดังนี้
✅ภาษีหัก ณ ที่จ่ายตามอัตราปกติ = 10,000×3% = 300 บาท
✅ภาษีหัก ณ ที่จ่ายออกให้ครั้งเดียว = (20,000+300)x3% = 309 บาท
✅เงินได้ที่ถือเป็นฐานในการคำนวณภาษี =10,000+300 = 10,300 บาท
✔เมื่อคูณอัตราภาษี 3% ก็จะได้ภาษีหัก ณ ที่จ่าย = 10,300×3% = 309 บาท
✅ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ต้องกรอกเงินได้ = 10,300.00 บาท ภาษีหัก ณ ที่จ่าย 309 บาท
💰 จำนวนเงินที่ผู้ให้บริการจะได้รับจริง = 10,300 – 309 = 9,991 บาท
💰 โดยกิจการออกภาษีให้ครั้งเดียว 300 บาท ส่วนอีก 9 บาท กิจการต้องหักจากผู้ให้บริการ
.
😊 เป็นอย่างไรกันบ้างคะ รู้วิธีคำนวณกันแล้ว ต่อไปก็คำนวณกันถูกต้องแล้วนะคะ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *