การทำรายงานเงินสด รับ – จ่าย ตามหลักเกณฑ์ที่สรรพากรกำหนด

การทำรายงานเงินสด รับ – จ่าย ตามหลักเกณฑ์ที่สรรพากรกำหนด

📌 การทำรายงานเงินสด รับ – จ่าย ตามหลักเกณฑ์ที่สรรพากรกำหนด
.
• จัดทำรายงานเงินสดรับ-จ่าย จะต้องมีข้อมูลที่ครบถ้วน ตามที่กรมสรรพากรกำหนด ผู้ประกอบการสามารถ เพิ่มช่องรายการให้เหมาะสมกับสภาพของกิจการ
• ต้องจัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายเป็นภาษาไทย หากเป็นภาษาต่างประเทศจะต้องมีภาษาไทยกำกับ
• ต้องลงรายการในรายงานเงินสดรับ – จ่าย ภายใน 3 วันทำการ นับแต่วันที่มีรายได้หรือรายจ่าย
• ต้องมีเอกสารประกอบการลงรายงาน เช่น ใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษี
• สรุปยอดเป็นรายเดือนเพื่อใช้เป็นหลักฐานประกอบการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
• รายจ่ายที่นำมาลงในรายงานเงินสดรับ- จ่าย ต้องเป็นรายจ่าย ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการ
• หากผู้ประกอบการไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีซื้อที่เกิดจากรายจ่ายนั้น สามารถนำมาลงเป็นต้นทุนของสินค้าหรือค่าใช้จ่ายได้ทั้งจำนวน
• กรณีที่ขายสินค้า/บริการ ซื้อสินค้า และค่าใช้จ่ายอื่นๆ เป็นเงินเชื่อ ให้บันทึกในวันที่ได้รับชำระหรือวันที่จ่ายค่าสินค้านั้นตามเกณฑ์เงินสด และอธิบายเพิ่มเติมในช่องหมายเหตุ
.
👉 ประโยชน์ของการจัดทำรายงานเงินสดรับ – จ่าย
.
1. ใช้วางแผนและควบคุมการบริหารงานภายในของกิจการ
2. ทราบถึงผลกำไร – ขาดทุน จากการประกอบการ
3. ใช้เป็นเอกสารประกอบการยื่นขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน
4. ใช้เป็นหลักฐานในการแสดงรายได้และรายจ่าย เพื่อประกอบการยื่นแบบเสีย ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *