ค่าเสื่อมและค่าตัดจำหน่าย คืออะไร

ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย คืออะไร

📌 ค่าเสื่อม (Depreciation) และค่าตัดจำหน่าย (Amortization) คืออะไร
.
คือ ค่าใช้จ่ายที่ทยอยตัดจากมูลค่าของสินทรัพย์ที่กิจการใช้ประโยชน์/ ใช้งานมากกว่า 1 ปีขึ้นไป (มักมีมูลค่าสูง) กิจการต้องประมาณการอายุการให้ประโยชน์ของสินทรัพย์แต่ละรายการเพื่อทยอยตัดเป็นค่าใช้จ่ายในแต่ละงวดจนถึงวันที่คาดว่าจหมดอายุการใช้งาน
.
👉 ค่าเสื่อมและค่าตัดจำหน่ายต่างกันอย่างไร?
• ค่าเสื่อมราคา (Depreciation) ใช้กับสินทรัพย์ที่มีตัวตน เช่น อาคาร อุปกรณ์
• ค่าตัดจำหน่าย (Amortization) ใช้กับสินทรัพย์ไม่มีตัวตน เช่น สิทธิการเช่า ลิขสิทธิ์ ทรัพย์สินทางปัญญา
.
🧐 ยกตัวอย่าง ซื้อรถมา 1 คัน ราคา 1 ล้านบาท อายุการใช้งาน 5 ปี รถมือสองอายุ 5 ปีราคา 2 แสนบาท แสดงว่าเราต้องหาเงิน 1 ล้าน – 2 แสนบาท = 8 แสนบาททุก 5 ปี เพื่อซื้อรถคันใหม่
ถ้าเราตัดค่าเสื่อมราคาแบบเส้นตรง (ราคาทุน – ซาก)/จำนวนปี = (1,000,000-200,000)/5 = 160,000
แสดงว่าถ้าเราหยอดกระปุกเก็บไว้ปีละ 160,000 สิ้นปีที่ 5 จะมีเงิน 800,000 บาท บวกค่าซาก 200,000 ได้เงิน 1,000,000 บาทไว้ซื้อรถใหม่พอดี
ดังนั้น นักบัญชีจึง นำ 160,000 เป็นรายจ่ายทำให้กำไรตำลงเหมือนบังคับให้เราเก็บไว้ซ่อมแซม หรือซื้อใหม่กลายๆ
*มูลค่า ณ.วันสิ้นอายุ คือมูลค่าประมาณการของสินทรัพย์ที่คาดว่าจะขายได้ ในวันที่สินทรัพย์สิ้นอายุการใช้งาน หรือเรียกอีกอย่างว่า ค่าซาก
.
👉 ค่าเสื่อมและค่าตัดจำหน่ายถือเป็นค่าใช้จ่ายหรือไม่?
ถือเป็นค่าใช้จ่าย แม้จะเป็นรายจ่ายที่ไม่ได้มีการจ่ายออกเป็นเงินสด บริษัทที่ตัดค่าเสื่อมน้อยเกินไป อนาคตสินทรัพย์อาจหมดอายุการใช้งานก่อนที่ค่าเสื่อมจะตัดจำหน่ายหมด ทำให้สินทรัพย์ และการกระจ่ายค่าใช้จ่ายไม่ตรงกับความเป็นจริง ส่วนบริษัทที่ตัดค่าเสื่อมมากเกินไป ค่าเสื่อมอาจหมดก่อนที่สินทรัพย์จะหมดอายุ ทำให้บริษัทเกิดค่าใช้จ่ายที่สูงเกินจริง และส่งผลต่อผลกำไรของบริษัทได้

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *