ทำอย่างไร เมื่อผู้สอบบัญชีเข้าตรวจ

ทำอย่างไร เมื่อผู้สอบบัญชีเข้าตรวจ

📌 ทำอย่างไร เมื่อผู้สอบบัญชีเข้าตรวจ
.
👉 นักบัญชีพร้อมแล้วหรือยังกับการเข้าตรวจสอบบัญชี ของผู้สอบ ถ้ายังไม่พร้อมมาเตรียมความพร้อมเพิ่มความมั่นใจ เมื่อผู้สอบบัญชีเข้าตรวจสอบ และเรียนรู้เทคนิคในการแก้ปัญหาที่นักบัญชีต้องพบเจอเมื่อผู้สอบเข้าตรวจสอบและแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ถูกต้องและลดข้อผิดพลาดจากการปฏิบัติงาน เสริมสร้างการทำงานให้รวดเร็ว ถูกต้อง และการทำบัญชีที่ถูกต้องตามมาตรฐานการบัญชี
.
🗂 1. ขั้นตอนของการจัดทำงบการเงิน
– ขั้นตอนที่ 1 รายการทางบัญชี
– ขั้นตอนที่ 2 เอกสารประกอบการลงบัญชี
– ขั้นตอนที่ 3 บันทึกรายการในบัญชี
– ขั้นตอนที่ 4 งบการเงินหรือรายงานทางการเงิน
.
🗂 2. ขั้นตอนการตรวจสอบบัญชีของผู้สอบบัญชี
– การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment)
– การทดสอบการควบคุม (Test of Control : TC)
– การตรวจสอบเนื้อหาสาระ (Substantive Test : S T)
– ประเภทของการตรวจสอบบัญชี
.
🗂 3. เอกสารทั่วไปที่ต้องเตรียมเมื่อผู้สอบบัญชีเข้าตรวจสอบบัญชี
– จัดเตรียมสำเนาเอกสารสำคัญเกี่ยวกับบริษัท เช่น หนังสือรับรองของบริษัท บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น รายงานการประชุม ใบอนุญาตต่างๆ เป็นต้น
– จัดเตรียมสำเนาผังองค์กรของบริษัท พร้อมระบุชื่อพร้อมตำแหน่งหน้าที่ของผู้รับผิดชอบ
– นโยบายและแนวทางในการปฏิบัติงานในแต่ละแผนก
– ระบบควบคุมภายในของบริษัท และการทดสอบการควบคุมภายใน
– หนังสือรับรองของผู้บริหาร เกี่ยวกับนโยบายการบัญชี การประมาณการทางการบัญชี ราคาขายสินค้าไม่ต่ำกว่าทุน ปัญหา Transfer pricing สิทธิและภาระผูกพัน สบช3 และ สบช5
– ต้นฉบับสัญญาต่างๆ และเอกสารแสดงภาระผูกพันของกิจการ
.
🗂 4. เอกสารทางการบัญชีที่ต้องเตรียมเมื่อผู้สอบบัญชีเข้าตรวจสอบบัญชี
– รายงานและข้อมูลงบการเงิน ประกอบด้วย งบทดลอง งบแสดงฐานการเงิน งบกำไรขาดทุน เป็นต้น
– สมุดบัญชีธนาคาร Bank Statement และงบกระทบยอดเงินฝากธนาคาร
– ทะเบียนสินทรัพย์ถาวรและสาระสำคัญของการมีอยู่จริง
– รายงานภาษีซื้อ / ขาย พร้อมใบกำกับภาษี และสำเนา ภ.พ.30 พร้อมใบเสร็จรับเงิน
– รายงานอายุลูกหนี้ และรายงานงบอายุเจ้าหนี้ (AR, AP Aging report)
– รายงานอายุสินค้าคงเหลือ (Aging Inventory report)
– รายงานคำนวณมูลค่าสินค้าคงเหลือ เปรียบเทียบ ราคาทุนกับมูลค่าสุทธิที่จะได้รับ (NRV)
– รายงานการคำนวณต้นทุนผลิต ต้นทุนขาย
– รายงานการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล พร้อมรายได้ที่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ หรือรายจ่ายที่มีสิทธิหักได้เพิ่มขึ้น และรายจ่ายที่ไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายตามประมวลรัษฎากร
– สำเนา ภ.ง.ด 51 และสำเนา ภ.ง.ด 50 (ปีที่แล้ว)
– เอกสารประกอบการบันทึกบัญชีรายวันขั้นต้น รายวันทั่วไป บัญชีแยกประเภท พร้อมสมุดบัญชีที่เกี่ยวข้อง
– รายงานการคำนวณรายได้พนักงาน ทะเบียนพนักงาน สำเนา ภ.ง.ด. 1 และ ภ.ง.ด 1 ก พร้อมใบเสร็จรับเงิน
– สำเนา ภ.ง.ด 3, 53, 54 พร้อมใบเสร็จรับเงิน (ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
บุคคลธรรมดา นิติบุคคล และจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2) (3) (4) (5) หรือ (6) แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ)
– สำเนา ภ.พ.36 พร้อมใบเสร็จรับเงิน (จ่ายให้ผู้ประกอบการในต่างประเทศซึ่งมีรายได้ในไทยหรือผู้ประกอบการที่ให้บริการในต่างประเทศและมีการใช้บริการในไทย)
– รายงานการคำนวณผลประโยชน์พนักงาน ที่ถูกต้องตามมาตรฐานการบัญชี
– สรุปประเด็นและการจัดทำกระดาษทำการเพื่อการตรวจสอบและการออกหน้ารายงาน
.
🗂 5. ประเด็นปัญหาอื่นๆ ที่ผู้สอบบัญชีมักสอบถาม และแนวทางการแก้ไขให้ถูกต้อง
– มีรายการปรับปรุงมากจนเกินไป
– มีใบลดหนี้ / เพิ่มหนี้ มากจนเกินไป
– การกำหนดเลขที่ใบกำกับภาษี / ใบเสร็จรับเงิน ไม่เหมาะสม
– การรับรู้สินทรัพย์ถาวร และการคำนวณค่าเสื่อมราคาไม่เหมาะสม
– เอกสารประกอบรายการทางบัญชีไม่สมบูรณ์ เช่น กรณีจ่ายเงินให้บุคคลธรรมดา
– การบันทึกบัญชีไม่ถูกปี
– การนำค่าใช้จ่ายที่ไม่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจมาบันทึกบัญชี
– ให้เงินกู้ยืมแก่กรรมการโดยไม่คิดดอกเบี้ย
– สินค้าเสื่อมสภาพแต่ยังบันทึกรับรู้เป็นสินค้าคงเหลือ
– สินค้าคงเหลือขาด / เกิน จากการบันทึกบัญชีผิดพลาด กิจการบันทึกเป็นขาดทุน / กำไร
.
6. คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
.
ที่มา ธรรมนิติ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *