ภ.ง.ด.94 คืออะไร

ภ.ง.ด.94 คืออะไร

📌 ภ.ง.ด.94 คืออะไร
ภ.ง.ด.94 แบบแสดงรายการเพื่อยื่นเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับรายได้ที่ไม่ใช่เงินเดือนตั้งแต่เดือน มกราคม – มิถุนายน เมื่อยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 นี้แล้ว เมื่อถึงปลายปีจะต้องคำนวณภาษีเงินได้ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงธันวาคม และยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 อีกครั้ง โดยสามารถนำภาษีที่ได้ชำระแล้วตามแบบ ภ.ง.ด.94 มาหักออกจาก ภ.ง.ด.90
.
👉 ผู้ที่มีหน้าที่ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.94
บุคคลธรรมดาที่มีเงินได้ตามมาตรา 40(5)-(8 ) ได้แก่
มาตรา 40(5) เงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สินต่างๆ เช่น บ้าน ที่ดิน รถยนต์ เป็นต้น
มาตรา 40(6) เงินได้จากวิชาชีพอิสระ เช่น วิชากฎหมาย การประกอบโรคศิลป์ วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรม
มาตรา 40(7) เงินได้จากการรับเหมาที่ต้องจัดหาสัมภาระที่สำคัญนอกเหนือจากเครื่องมือ
มาตรา 40(😎 เงินได้ที่นอกเหนือจากเงินได้มาตรา 40(1) – (7) เช่น รายได้จากธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม ขนส่งและการอื่น
ซึ่งรวมถึงธุรกิจที่ประกอบกิจการในรูปแบบบุคคลธรรมดา เช่น ห้างหุ้นส่วนสามัญ คณะบุคคลคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง วิสาหกิจชุมชน
.
👉 เงินได้เท่าไรต้องยื่นแบบ
🧐 กรณีโสด มีเงินได้ตั้งแต่ 60,000 บาท ขึ้นไป
🧐 กรณีสมรสและต้องการยื่นแบบรวม มีเงินได้รวมกันตั้งแต่ 120,000 บาท ขึ้นไป
.
👉 การหักค่าใช้จ่าย
สามารถเลือกหักได้ 2 วิธี คือ
1.หักค่าใช้จ่ายจริงตามความจำเป็นและสมควร (ต้องมีเอกสารและหลักฐานครบ)
2. หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมา อัตราจะแตกต่างไป ดังนี้.
.
เงินได้ตามมาตรา 40(5) เงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน หักค่าใช้จ่ายได้ดังนี้
บ้าน โรงเรือน สิ่งปลูกสร้าง แพ ร้อยละ 30
ยานพาหนะ ร้อยละ 30
ที่ดินที่ใช้ในการเกษตร ร้อยละ 20
ที่ดินที่ไม่ได้ใช้ในการเกษตร ร้อยละ 15
ทรัพย์สินอื่น ร้อยละ 10
.เงินได้ตามมาตรา 40(6) วิชาชีพอิสระ
ประกอบโรคศิลป ร้อยละ 60
วิชาชีพอื่น ร้อยละ 30
.เงินได้ตามมาตรา 40(7) เงินได้จากการรับเหมา ร้อยละ 60
เงินได้ตามมาตรา 40(😎 เงินได้จากธุรกิจอื่นนอกเหนือจาก ม. 40(1)-(7) ร้อยละ 40 และ 60 แล้วแต่กรณี
.
การหักค่าลดหย่อน การคำนวณภาษีสามารถนำค่าลดหย่อนมาหักได้ครึ่งหนึ่งตามสิทธิ์
กำหนดเวลายื่นแบบ ยื่นแบบแสดงรายการได้ตั้งแต่ เดือนกรกฎาคมถึงกันยายนของทุกปี
บทกำหนดโทษ หากบุคคลธรรมดาไม่ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 และชำระภาษีจะมีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท และคิดเงินส่วนเพิ่ม 1.5% ของภาษีที่ค้างจ่ายเป็นรายเดือน
.

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *