ภาษีการรับให้ (Gift Tax) คืออะไร

ภาษีการรับให้ (Gift Tax)

ภาษีการรับให้ (Gift Tax)

ภาษีการรับให้ (Gift Tax)

ภาษีการรับให้ (Gift Tax)

🎁 ภาษีการรับให้ (Gift Tax) 💸
.
คือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่เรียกเก็บจากทรัพย์สินที่ให้หรือรับจากการรับให้โดยเสน่หา ก่อนผู้ให้เสียชีวิต ทั้งนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการหลีกเลี่ยงภาษีการรับมรดก โดยจะเรียกเก็บภาษีที่จะต้องเสียจากทรัพย์สิน ได้แก่
.
👉 1. สังหาริมทรัพย์ทุกประเภทที่คำนวณเป็นเงินได้ เช่น เงินสด รถยนต์ ทองคำ เครื่องประดับ เป็นต้น
• ผู้มีหน้าที่เสียภาษี กำหนดให้ผู้ที่ได้รับเงินได้ดังกล่าวเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษี ได้แก่ บุคคลธรรมดาผู้ได้รับเงินได้จากการอุปการะหรือจากการให้โดยเสน่หาจากบุพการี ผู้สืบสันดาน หรือคู่สมรส เฉพาะเงินได้ในส่วนที่เกินกว่า 20 ล้านบาทในแต่ละปีภาษี
• บุคคลธรรมดาผู้ได้รับเงินจากการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยาหรือจากการให้โดยเสน่หาเนื่องในพิธีหรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณีจากบุคคลอื่น ซึ่งมิใช่บุพการี ผู้สืบสันดาน คู่สมรส เฉพาะเงินได้ส่วนที่เกินกว่า 10 ล้านบาท ในแต่ละปีภาษี
.
✅ อัตราภาษี เสียภาษีอัตราร้อยละ 5 ของมูลค่าทรัพย์สินที่ได้รับในส่วนที่เกิน 20 ล้านบาท หรือ 10 ล้านบาท หรือสามารถนำไปรวมคำนวณกับเงินได้พึงประเมินอื่นก็ได้ ยื่นด้วยแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.90 ภายในวันที่ 31มีนาคมของปีถัดไป
.
👉 2. อสังหาริมทรัพย์ทุกประเภท เช่น บ้าน โรงเรือน สิ่งปลูกสร้าง ที่ดิน เป็นต้น
ผู้มีหน้าที่เสียภาษี กำหนดให้ผู้ที่โอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองใน อสังหาริมทรัพย์เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีได้แก่ บิดาและหรือมารดาผู้โอนกรรมสิทธิ์ ให้บุตรชอบด้วยกฎหมาย แต่ไม่รวมถึงบุตรบุญธรรม โดยกฎหมายถือว่าเป็น “ผู้ขาย” อสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว จึงมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หัก ณ ที่จ่าย และนำส่งเจ้าพนักงานในขณะที่มีการจดทะเบียนสิทธิหรือนิติกรรม ตามกฎหมายที่ดิน
.
✅ อัตราภาษี เสียภาษีอัตราร้อยละ 5 ของมูลค่าทรัพย์สินที่ได้รับในส่วนที่เกิน 20 ล้านบาท หรือสามารถนำไปรวมคำนวณกับเงินได้พึงประเมินอื่นก็ได้ ยื่นด้วย แบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.90 ภายในวันที่ 31 มีนาคมของปีถัดไป
.
‼ หมายเหตุ การโอนกรรมสิทธิ์อสังหาริมทรัพย์กรณีอื่น เช่น บิดาและหรือมารดาโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่บุตรบุญธรรม โดยไม่มีค่าตอบแทน หรือบุตรชอบด้วยกฎหมายหรือบุตรบุญธรรมโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่บิดาและหรือมารดา หรือการโอน กรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์กรณีอื่นนั้น ยังคงเรียกเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามเกณฑ์เดิม ถือว่าผู้โอนกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์เป็น “ผู้ขาย” ต้องมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย และนำส่ง เจ้าพนักงานในขณะที่มีการจดทะเบียนสิทธิหรือนิติกรรมตามกฎหมายที่ดินด้วย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *