ภาษีน่ารู้ของ Rider

ภาษีน่ารู้ของ Rider

🛵ภาษีน่ารู้ของ Rider 🏍
.
👉Rider หรือ คนส่งอาหาร เป็นอาชีพที่ได้รับความนิยมในช่วงวิกฤต COVID-19 ทำให้หลายคนต้อง work from home จึงเป็นทางเลือกหนึ่ง ซึ่งโดยปกติ Rider คือ การรับทำงานให้ได้ตามสัญญาจ้างทำของ ประเภทหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยบุคคลสองฝ่าย คือ “ผู้ว่าจ้าง” และ “ผู้รับจ้าง” โดยผู้ว่าจ้างสัญญาว่าจะจ่าย “สินจ้าง” ให้ตามส่วนของงานที่ทำเสร็จ โดยคำนึงผลสำเร็จของงานเป็นหลัก และผู้รับจ้างสัญญาว่าจะทำงานให้แล้วเสร็จตามสัญญา จากการรับทำงานให้นั้นต้องอาศัยแรงงานเป็นปัจจัยสำคัญ มิได้มีการหาสัมภาระ และมีค่าใช้จ่ายจำนวนน้อย ถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(2) แห่งประมวลรัษฎากร
.
👉Rider ได้รับค่าตอบแทนหลายแบบ เช่น ค่าบริการส่งอาหาร ค่าส่งเพิ่มตามระยะทาง โบนัสพิเศษ ซึ่งแต่ละแพลตฟอร์มให้ค่าตอบแทนไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง แต่สิ่งที่เหมือนกันคือ โดยปกติค่าตอบแทนจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 3% ซึ่งสามารถยื่นขอคืนภาษี ณ ที่จ่ายได้ในการยื่นภาษีประจำปี
.
👉Rider จะต้องขอหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 ทวิ จากนายจ้างด้วยเพื่อนำมาเป็นหลักฐานในการยื่นแบบฯ และขอคืนภาษี
การเสียภาษี
– ภาษีหัก ณ ที่จ่าย จากค่าตอบแทนต่างๆ ที่ได้รับในอัตรา 3%
– ยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.90 กำหนดยื่นแบบ 1 มกราคม – 31 มีนาคม ของทุกปี
.
👉รายได้ที่ต้องนำมายื่นภาษี
.
หาก Rider มีรายได้ไม่ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำ คือ 60,000 บาทต่อปี และไม่ต้องการขอคืนภาษีหัก ณ ที่จ่าย กฎหมมายระบุว่าไม่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีได้
.
แต่ถ้าหากมีรายได้ประเภทอื่นๆ รวมกันเกินกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำ Rider ยังคงมีหน้าที่ยื่นแบบฯ เสียภาษี
.
หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (ใบ 50 ทวิ) เป็นหลักฐานที่ผู้มีเงินได้จะได้รับเพื่อแสดงว่า ผู้รับเงินได้ถูก หักภาษี ณ ที่จ่าย ไว้เรียบร้อยแล้ว โดยจะได้รับใบ 50 ทวิ จำนวน 2 ใบที่มีข้อความตรงกันไว้เป็นหลักฐานสำหรับการยื่นภาษีในปีภาษีที่ได้รับเงินได้ก้อนนั้นๆ ต่อไป โดยผู้จ่ายเงินเป็นผู้มีหน้าที่ออกหลักฐานดังกล่าวให้แก่ผู้รับเงิน
.
ดังนั้น Rider จึงสามารถขอได้จาก Grab, LINEMAN, Robinhood, Food Panda, Shopee Food เป็นต้น
สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์กรมสรรพากร www.rd.go.th

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *