ภาษีเงินได้ของผู้รับเหมา

ภาษีเงินได้ของผู้รับเหมา

ภาษีเงินได้ของผู้รับเหมา

       🔎 ปัจจุบันนี้ ทางกรมสรรพากรมีระบบการตรวจสอบภาษี ที่หลากหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นระบบ Big Data การให้ธนาคารส่งข้อมูลบัญชีเงินฝาก การตรวจสอบข้อมูลจากภาษีหัก ณ ที่จ่าย แม้กระทั่งเปิดให้มีการ แจ้งเบาะแสผู้เลี่ยงภาษี ซึ่งเป็นการยากมาก ที่จะสามารถหลบเลี่ยงการยื่นแบบภาษีได้ตลอด ดังนั้น ผู้ประกอบการที่ยังปฏิบัติไม่ถูกต้อง มาทำให้ถูกต้องกันดีกว่า จะไม่ต้องกังวลกับการถูกตรวจสอบภาษีย้อนหลัง
.
       🧑‍🔧 เงินได้จากการรับเหมาตามมาตรา 40(7) หมายถึง การรับเหมางานที่ผู้รับเหมาจะต้องลงทุนจัดหาสัมภาระในส่วนสำคัญเอง ในที่นี้หมายถึงการรับเหมาทั้งค่าของและค่าแรง นั่นเอง
.
       ⚖️ ตามกฎหมายแล้วบุคคลที่มีรายได้ตั้งแต่ 60,000 ต่อปีขึ้นไป ต้องยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษี ไม่ว่าจะมีภาษีต้องเสียหรือไม่ก็ตาม ซึ่งปัจจุบันสรรพากรได้มีการส่งจดหมายเรียกผู้ที่มีรายได้ถึงเกณฑ์แล้วไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการให้ทำการยื่นแบบแสดงรายการให้ถูกต้อง ซึ่งนั่นก็หมายถึงจะต้องเสียเบี้ยปรับด้วย
📌 กำหนดยื่นแบบแสดงรายการปีละ 2 ครั้ง
     1️⃣ ภาษีเงินได้ครึ่งปี รายได้รวมตั้งแต่เดือน มกราคม – มิถุนายน ยื่นแบบภายในเดือนกันยายนของปี โดยใช้แบบแสดงรายการ ภงด.94
     2️⃣ ภาษีเงินได้ประจำปี รายได้รวมตั้งแต่เดือน มกราคม – ธันวาคม ยื่นแบบภายในเดือนมีนาคม ของปีถัดไป ใช้แบบแสดงรายการ ภงด.90
.
📝 การหักค่าใช้จ่าย สามารถเลือกหักได้ 2 วิธี
     1️⃣ หักตามจริง (ผู้รับเหมาจะต้องเก็บหลักฐานการจ่าย แสดงต่อเจ้าหน้าที่
          เพื่อตรวจสอบ)
     2️⃣ หักแบบเหมา ร้อยละ 60 (ไม่ต้องเก็บเอกสาร)
.
📋 วิธีการยื่นแบบแสดงรายการ
     1️⃣ ยื่นทางอินเทอร์เน็ต www.rd.go.th วิธีนี้จะสะดวก ได้ภาษีคืนเร็ว ทั้งนี้ต้องคอยตรวจสอบในระบบ อาจมีการเรียกขอเอกสารเพิ่มเติม ก็สามารถส่งเอกสารได้ทางระบบ
     2️⃣ ยื่นกระดาษ ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่ ในช่วงกำหนดเวลายื่นภาษีสรรพากรแต่ละพื้นที่จะมีเจ้าหน้าที่คอยบริการตรวจสอบและคำนวณแบบให้ เมื่อยื่นแบบเรียบร้อยแล้ว ข้อมูลจะถูกส่งไปยังสำนักงานสรรพากรพื้นที่ตามภูมิลำเนา หากมีการขอคืนภาษี เจ้าหน้าที่จะเรียกตรวจเอกสารเพิ่มเติม
.
      🧮 วิธีการคำนวณภาษี ต้องคำนวณเปรียบเทียบ 2 วิธี
✍️ วิธีที่ 1
การคำนวณภาษี
เงินได้จากการรับเหมา 1,000,000.00
หัก ค่าใช้จ่าย 60% (600,000.00)
เงินได้ก่อนหักลดหย่อน 400,000.00
หัก ลดหย่อน (ส่วนบุคคล) (60,000.00)
(ลดหย่อน กรณีภรรยาไม่มีรายได้)
(ลดหย่อน บุตร)
(ลดหย่อนดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้าน)
(ลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิต)
เงินได้สุทธิ 340,000.00
.
คำนวณภาษี
1-150,000 ยกเว้น
150,001-300,000 5% = 7,500.00
300,001-500,000 10% = 4,000.00
ภาษีที่ต้องชำระ = 11,500.00
ภาษีที่ถูกหักไว้ (1,000,000 * 3%) = 30,000.00
ได้รับภาษีคืน (30,000-11,500) = 18,500.00
.
✍️ วิธีที่ 2 หากมีเงินได้เกิน 120,000 บาท ต้องคำนวณตามวิธีนี้เพื่อเปรียบเทียบ หากคำนวณแล้วภาษีไม่เกิน 5,000 บาท ให้เสียตามวิธีที่ 1
1,000,000 x0.005 = 5,000 บาท ดังนั้นให้เสียภาษีตาม วิธีที่ 1
.
💰 สรุปภาษีตามวิธีที่ 1
จำนวนภาษีที่คำนวณได้ 8,500 บาท
ภาษีที่ถูกหักไว้ตาม 50 ทวิ 30,000 บาท
ภาษีชำระไว้เกิน ขอคืนภาษีได้ 11,500 บาท
.
      ✍️ เมื่อมีการขอคืนภาษีส่วนที่ชำระไว้เกิน จึงต้องมีการเตรียมพร้อมของเอกสาร เพราะทางเจ้าหน้าที่จะต้องมีการตรวจสอบเอกสารเพื่อพิสูจน์ว่าผู้รับเหมาได้มีการรับเหมางานเกิดขึ้นจริง มีการจ่ายค่าใช้จ่ายต่าง ๆ จริง ซึ่งมักจะขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่แต่ละท่านที่ตรวจการขอคืนภาษี ดังนั้นเพื่อความรอบคอบและไม่มีปัญหาในการขอคืนภาษีและได้ภาษีคืนได้รวดเร็ว
.
     📋 เอกสารที่ควรเตรียมไว้ให้พร้อม
     1️⃣ เก็บรวบรวมสำเนาบัตรประชาชนของคนงานที่มีลายเซ็นคนงานไว้
     2️⃣ จัดทำรายงานการจ่ายค่าแรงในแต่ละงวด ระบุว่า จ่ายให้ใคร จำนวนเงินเท่าไร ให้มีการเซ็นชื่อรับเงิน
     3️⃣ สัญญาจ้างเหมางาน ที่มีการเสียอากรอย่างถูกต้อง ซึ่งตามกฎหมายกำหนดให้ผู้รับจ้างเป็นผู้เสียอากร โดยมูลค่าสัญญา 1,000 บาท เสียอากร 1 บาท (พันละบาท)
     4️⃣ หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (50 ทวิ)
.
‼️ ประเด็นที่ผู้รับเหมาต้องพึงระวังเป็นอย่างมาก
     1️⃣ เรื่องยอดรายรับเกิน 1.8 ล้าน ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังนั้นต้องมีการตรวจสอบยอดรายรับอยู่ตลอด เพราะหากยอดเกิน 1.8 ล้าน แล้วไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เท่ากับจะต้องเสีย VAT 7% จากยอดรายรับ และมีเบี้ยปรับ เงินเพิ่ม อีกจำนวนมาก
.
     2️⃣ ปัญหาที่ผู้รับเหมาบางคนเจอ คือ ยอดที่ถูกนำส่งรายได้จะมากกว่ายอดเงินที่รับจริง ดังนั้นไม่ควรเซ็นเอกสารเบิกผลงาน หรือ เอกสารรับเงินใด ๆ โดยไม่มีการกรอกจำนวนเงิน
.
     3️⃣ ขอหนังสือรับรองการหัก ณ ที่จ่ายทุกครั้ง เพื่อตรวจสอบยอดกับที่รับจริง
.
🙂 เป็นอย่างไรกันบ้างคะ ไม่ยากเลยใช่มั้ยคะ เรียนรู้และเตรียมตัวไว้ เรื่องถูกประเมินภาษีย้อนหลังจะเป็นเรื่องไกลตัวมาก ทำให้ถูกต้องสบายใจ ได้ภาษีคืนไว ไร้ปัญหาในการถูกตรวจสอบย้อนหลังค่ะ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *