ภาษีเงินได้นิติบุคคลกับการให้ส่วนลด

ภาษีเงินได้นิติบุคคลกับการให้ส่วนลด

🔴 ภาษีเงินได้นิติบุคคลกับการให้ส่วนลด
.
👉 ส่วนลดการค้า ผู้ขายจะถือเป็นรายได้ในการคำนวณกำไรสุทธิจากยอดขายหลังหักส่วนลดแล้ว
📌ยกตัวอย่างเช่น
ขายสินค้า 200,000 บาท
หัก: ส่วนลด 10,000 บาท
รวมเงิน 190,000 บาท
ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% 13,300 บาท
ราคารวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 203,300 บาท
.
✍️ วิธีการบันทึกบัญชี
เมื่อมีการขายสินค้า
Dr. ลูกหนี้การค้า 203,300
Cr. ขายสินค้า 190,000
ภาษีขาย 13,300
เมื่อรับชำระเงิน
Dr. เงินสด 203,300
Cr. ลูกหนี้การค้า 203,300
.
👉 ส่วนลดเงินสด ผู้ขายจะต้องถือเป็นรายได้ในการคำนวณกำไรสุทธิจากยอดขายเต็มจำนวน และหากภายหลังมีการให้ส่วนลดกับผู้ซื้อในภายหลัง ผู้ขายสามารถนำส่วนลดมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้
📌 ยกตัวอย่างเช่น
ขายสินค้า 200,000 บาท
ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% 14,000 บาท
ราคารวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 214,000 บาท
หัก: ส่วนลด 10,000 บาท
ยอดรับชำระ 204,000 บาท
.
✍️ วิธีการบันทึกบัญชี
เมื่อมีการขายสินค้า
Dr. ลูกหนี้การค้า 214,000
Cr. ขายสินค้า 200,000
ภาษีขาย 14,000
เมื่อลูกค้าชำระเงินโดยได้ส่วนลด
Dr. เงินสด 204,000
ส่วนลดจ่าย 10,000
Cr. ลูกหนี้การค้า 214,000
.
เป็นอย่างไรกันบ้างคะ ในการให้ส่วนลดมีประเด็นข้อกฎหมายหลาย ๆ กรณีค่อนข้างซับซ้อน ดังนั้นผู้ประกอบการควรทำความเข้าใจภาษีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการให้ส่วนลดให้ชัดเจน เพื่อป้องกันข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้านะคะ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *