วิธีการทำลายสินค้าเสื่อมสภาพ ทำอย่างไรให้ถูกต้องตามหลักสรรพากร

การทำลายสินค้าตามคำสั่งกรมสรรพากร

 

 

วิธีการทำลายสินค้าเสื่อมสภาพ ทำอย่างไรให้ถูกต้องตามหลักสรรพากร

 

วิธีการทำลายสินค้าเสื่อมสภาพ ทำอย่างไรให้ถูกต้องตามหลักสรรพากร

 

วิธีการทำลายสินค้าเสื่อมสภาพ ทำอย่างไรให้ถูกต้องตามหลักสรรพากร

 

วิธีการทำลายสินค้าเสื่อมสภาพ ทำอย่างไรให้ถูกต้องตามหลักสรรพากร

 

 

 

📍วิธีการทำลายสินค้าเสื่อมสภาพ ทำอย่างไรให้ถูกต้องตามหลักสรรพากร
.
👉คำนิยามคำว่า “ ของเสีย ” และ “ เศษซาก ”
ของเสียตามปกติ หมายถึง ของเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพภายใต้กรรมวิธีการผลิต ซึ่งได้มีการกำหนดอัตราของเสียที่ถือว่าเป็นอัตราปกติของกรรมวิธีการผลิต
.
ของเสียเกินปกติ หมายถึง ของเสียที่เกิดขึ้นมากกว่าอัตราปกติที่ได้กำหนดไว้ในกระบวนการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ
.
เศษซาก หมายถึง เศษวัตถุที่เกิดจากกระบวนการผลิตบางประเภท ซึ่งมีมูลค่ากลับคืนที่อาจวัดได้แต่มีจำนวนน้อย
.
👉วิธีการทำลายสินค้าเสื่อมสภาพ มีหลักเกณฑ์ ดังนี้ประเภทสินค้าที่รอการทำลาย แบ่งเป็น 6 ประเภท
1.ของเสีย
2.สินค้าเสื่อมสภาพ
3.สินค้ามีตำหนิ
4.สินค้าที่หมดสมัยนิยม
5.สินค้าหมดอายุ
6.เศษซาก
.
👉แนวทางปฏิบัติในการทำลายสินค้า แบ่งเป็น 2 กรณี ดังนี้
1. ของเสียเก็บได้
2. ของเสียเก็บไม่ได้
การทำลายของเสียหรือสินค้าหรือเศษซาก ที่โดยสภาพไม่สามารถเก็บรักษาและ รอการทำลายพร้อมกันได้มีขั้นตอนการดำเนินการดังนี้
1.ต้องมีการตรวจสอบสภาพสินค้า
2.ได้รับอนุมัติจากผู้มีอำนาจในการพิจารณาให้เป็นสินค้าเสียหาย
3.กรณีสินค้าที่ได้รับคืน บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจะต้องมีเอกสารหลักฐานการรับคืนสินค้า และให้มีการลงลายมือชื่อของลูกค้าที่คืนสินค้า พนักงานที่รับคืนสินค้าด้วย
4. เชิญผู้สอบบัญชีมาเป็นพยานในการทำลาย ให้มีบุคคลภายใน เช่น ฝ่ายคลังสินค้า ฝ่ายบัญชี ฝ่ายขาย หรือฝ่ายตรวจสอบ (ถ้ามี) ร่วมสังเกตการณ์ และลงลายมือชื่อเป็นพยาน เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการบันทึกบัญชี ทั้งนี้ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่จำเป็นต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่กรมสรรพากรร่วมเป็น พยานในการทำลายก็ได้
.
กรณีเป็นสินค้าที่เก็บไว้ได้ ทำเหมือนข้อ 1-4 แจ้งสรรพากรล่วงหน้า 30 วัน ก่อนที่จะทำลาย โดยสรรพากรจะตอบรับ และส่งเจ้าหน้าที่มาร่วมสังเกตการณ์แล้วแต่กรณี

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *